....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

30 พ.ย. 2553

มุทิตาบัตร







22 พ.ย. 2553

พระครู 4 กา ผู้รักษาพระธาตุ นครศรีฯ


พระครูกา ผู้รักษาพระธาตุ นครศรีฯจากหลักฐานที่ปรากฏในตำนาน ทำให้ทราบว่า วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๕๘ พื้นที่ใช้สอยในวัดเมื่อสมัยแรกสร้างจนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้บริเวณวัดเป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และได้ตั้งเขตสังฆาวาสขึ้นรอบองค์พระบรมธาตุทั้ง ๔ ทิศ ได้แก่
ทิศเหนือ มีวัดพระเดิม วัดมังคุด และวัดโรงช้าง
ทิศใต้ มีวัดหน้าพระลาน วัดโคกธาตุ วัดท้าวโคตร วัดศพ วัดไฟไหม้ และวัดชายน้ำ
ทิศตะวันออก มีวัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ วัดสระเรียง วัดหน้าพระบรมธาตุ และวัดหน้าราหู
ทิศตะวันตก มีวัดพระนคร วัดแม่ชี และวัดชลเฉนียน
ในปัจจุบัน วัดต่างๆ ที่อยู่รอบองค์พระบรมธาตุทั้ง ๔ ทิศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ วัดโรงช้าง วัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ และวัดแม่ชี กลายเป็นวัดร้าง ส่วนวัดพระเดิมและวัดมังคุดรวมเป็นวัดเดียวกับวัดพระมหาธาตุฯ วัดศพและวัดไฟไหม้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดท้าวโคตร สำหรับวัดราหูได้รวมกับวัดหน้าพระธาตุ
ในส่วนของพระสงฆ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลองค์พระบรมธาตุ มีจำนวน ๔ คณะ แต่ละคณะจะรับผิดชอบประจำอยู่ในทิศต่างๆ คือ คณะกาเดิม อยู่ทิศเหนือ คณะการาม อยู่ทิศใต้ คณะกาแก้ว อยู่ทิศตะวันออก
คณะกาช่าด อยู่ตะวันตก

จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้โปรดให้ตั้งพระสงฆ์คณะต่างๆ มีตำแหน่งเป็นพระครู โดยมีพระครูเหมเจติยานุรักษ์เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้ช่วยอีก ๔ รูป คือ พระครูกาเดิม พระครูการาม พระครูกาแก้ว และพระครูกาชาด ตำแหน่งพระครูทั้ง ๔ นี้ยังคงจำพรรษาอยู่ในวัดเดิมของตนตามทิศทั้ง ๔ มีหน้าที่ดูแลพระบรมธาตุร่วมกัน ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ นิมนต์พระสงฆ์จากวัดเพชรจริกซึ่งมีพระครูวินัยธร (นุ่น) เป็นหัวหน้าสงฆ์จำพรรษาดูแลวัด และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
เจ้าคณะทั้งสี่นั้นหมายถึงเจ้าคณะทั้งสี่กา ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรักษาพระบรมธาตุทั้งสี่ทิศ และดูแลคณะสงฆ์ข้างนอกตามทิศที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล และในช่วงปี พ.ศ.2504 ช่วงนั้นพระบรมธาตุยังรกร้างอยู่ ดังที่นายทองหมีได้กล่าวกับท่านปานตอนมาบูรณะพระบรมธาตุ และให้นายทองหมีปลุกกุฏิเล็กๆ ที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2437 ว่า

“ลานพระเจดีย์เดี๋ยวนี้ รกมากถูกทอดทิ้งมากว่า 30 ปีแล้วเป็นดงไม้ยืนต้น ไม้เถาว์ไม้เลื้อยคลาน เพกา ผกากรองรกท่วมศีรษะสภาพเป็นป่าช้า อากูลด้วยซากศพและมูตคูต ทำความสะอาดไม่ไหว ขืนไปอยู่ชาวบ้านจะหาว่าวิกลจริต งดคิดเสียดีกว่า”

ซึ่งเจ้าคณะทั้งสี่ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ร.๖ แต่เป็นเจ้าคณะทั้งสี่กา ที่คณะสงฆ์ของนครศรีธรรมราชเป็นผู้คัดสรรขึ้น ตามที่มีมาแต่โบราณกาล
เมื่อท่านพระครูกาแก้วแห่งวัดสวนหลวงออกสิ้นบุญ พระสมุห์บุญศรี เจ้าอาวาสวัดหน้าราหู ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว (บุญศรี) ท่านเป็นบิดาท่านพระครูสุนทร และท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ของท่านพระครูกาแก้ว (หมุ่น อิสฺสโร)พระครูกาแก้ว (บุญศรี) สิ้นบุญปี พ.ศ.2460
ในปี พ.ศ.2467 หลังจากท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) สิ้นบุญ พระหมุ่น อิสฺสโร ซึ่งเป็นปลัดในฐานานุกรมพระญาณเวทีเจ้าคณะจังหวัด วัดพระเดิม ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูกาแก้วต่อ
ซึ่งการแต่งตั้งพระครูกาทั้งสี่นั้นเป็นตำแหน่งทำเนียบสงฆ์พระครูกาทั้งสี่ของเมืองนคร ซึ่งเป็นกรรมการรักษาองค์พระบรมธาตุสืบมาแต่โบราณ และมีท้องที่ปกครองสงฆ์แบ่งทิศกัน แยกตามฐานะ ด้วยวัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัยของชาวนครฯและชาวใต้ ในสมัยก่อนจะเป็นเขตพุทธาวาส พระอารามหลวงไม่มีพระสงฆ์อยู่ พึ่งมาถูกพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติ วัดพระเดิมเข้าถือสิทธิ์ปกครองเสีย เมื่อประมาณ พ.ศ.2480 สมัยพระธัชมุนี (แบน) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเดิมเมื่อยังเป็นพระศรีธรรมประสาธน์ และตรงนี้ทำให้ความขัดแย้งของคณะสงฆ์ในนครฯ ขึ้น

ลำดับท่านพระครูกาแก้ว
1. ท่านพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก
2. ท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) วัดหน้าราหู บิดาท่านพระครูสุนทร วัดดินดอน ท่านเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะพระบรมธาตุร่วมกับท่านปาน
3. ท่านพระครูกาแก้ว(หมุ่น อิสฺสโร) วัดหน้าพระบรมธาตุ (รวมวัดหน้าราหู วัดประตูลักษณ์ วัดหน้าพระบรมธาตุเข้าด้วยกัน)
4. ท่านพระครูกาแก้ว (พุฒ วัดชะเมา)
5.ท่านพระครูกาแก้ว วัดใหญ่ชัยมงคล
6. ท่านพระครูกาแก้ว (หมุ่น ปุณฺณรโส) วัดหน้าพระบรมธาตุ
7.ท่านพระครูกาแก้ว วัดหน้าพระลาน รูปปัจจุบัน
ลำดับท่านพระครูการาม
1.ท่านพระครูการาม (ดี) วัดหน้าพระลาน
2.ท่านพระครูการม (นาค) วัดหน้าพระลาน
ลำดับท่านพระครูกาชาด
1.ท่านพระครูกาชาด (ดำ) วัดท้าวโคตร
2.ท่านพระครูกาชาด (ขาว) วัดชะเมา
3.ท่านพระครูกาชาด (ย่อง) วัดวังตะวันตก
4.ท่านพระครูกาชาด (แก้ว) วัดใหญ่
5.ท่านพระครูกาชาด (จัด) วัดสระเรียง
6.ท่านพระครูกาชาด (เจียม) วัดหน้าพระบรมธาตุ รูปปัจจุบัน
ลำดับท่านพระครูกาเดิม
1.ท่านพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง (อาจารย์หลวงพ่อทวด วัดช้างให้)
2.ท่านพระครูกาเดิม (ทอง) วัดจันทาราม
3.ท่านพระครูกาเดิม (คลิ้ง) วัดจันทาราม
4.ท่านพระครูกาเดิม (รักษ์) วัดบูรณาราม
5.ท่านพระครูกาเดิม (เกตุ) วัดบูรณาราม
6.ท่านพระครูกาเดิม วัดบางสะพาน


ข้อมูล ( เพิ่มเติมบ้างโดยศิษย์หน้าธาตุ ตามที่จะหาได้ ข้อมูลอาจจะไม่เรียงตามลำดับ)

21 พ.ย. 2553

ต้องการรวบรวมประวัติอดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ


ต้องการรวบรวมประวัติอดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ


วัดหน้าพระบรมธาตุ อยู่ติดถนนราชดำเนิน ตรงกันกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของ จ.นครศรีธรรมราช สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ 1800 โดยมีเจ้าอาวาสที่พอทราบได้ คือ
1. พระครูกาแก้ว (บุญศรี)
2. พระศรีธรรมราชมุนี (หมุ่น อิสฺสโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช.
3. พระธรรมนาถมุนี (ใส ถาวโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าคณะภาค ๑๖.
4. พระครูวิมลนวการ (เผ้ง ทิฏฺฐธมฺโม นามสกุล กาฬกาญจน์)
5. พระปริยัติวโรปการ (หมุ่น ปุณฺณรโส)) เปรียญ ๖ ประโยค
6. พระครูกาชาด (เจียม กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
หนังสือตำนานพระธาตุ เขียนไว้ว่า รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จฯ วัดหน้าพระบรมธาตุ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๔๑ เพื่อทอดพระเนตรที่พัก พระครูเทพมุนี (ปาน) ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๐ สมเด็จพระสังฆราช ได้ เสด็จวัดหน้าพระบรมธาตุ เพื่อทรงสรงน้ำศพ พระครูวิมลนวการ ความสำคัญของวัดหน้าพระบรมธาตุ อยู่ที่การเรียนภาษาบาลี เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๖๗ พระศรีธรรมราชมุนี (หมุ่น) เปิดโรงเรียนสอนภาษาบาลีขึ้นเป็นแห่งแรกในปักษ์ใต้ที่วัดนี้ จนถึงปี ๒๔๗๐ ได้ผลิตมหาเปรียญชาวปักษ์ใต้ได้สำเร็จ ๓ รูป แล้วผลิตต่อเรื่อยมาอีกจนได้หลายร้อยรูป

เปรียญ ๓ รูปแรก ของวัดหน้าพระบรมธาตุ คือ พระมหาหมุ่น พระมหาวรรณ และสามเณรชื่น ทั้งสามท่านสอบจนได้ ๖ ประโยค พระมหาวรรณ ลาสิกขาไปเป็นครู จนได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นครูใหญ่ พระมหาชื่น ลาสิกขา รับราชการจนเป็น นายอำเภอ ภายหลังเป็นผู้แทนราษฎร จ.สุราษฎร์ธานี
ส่วนพระมหาหมุ่น ภายหลังได้ขึ้นเป็น พระครูกาแก้ว แล้วได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระปริยัติวโรปการ เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันมี พระครูกาชาด (เจียม กิตฺติสาโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ พระครูอดิสัยธรรมศาสก์ (ชอบ อติเมโธ) เป็นรองเจ้าอาวาส
โดย.....ศิษย์วัดหน้าพระบรมธาตุ

อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ

9 พ.ย. 2553

วัดหน้าพระบรมธาตุในอดีต-ปัจจุบัน







รูปที่ 1 ถ่ายเมื่อ 2504 (ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์)
รูปที่ 2 ถ่ายเมื่อ 2508 (ภาพจากคุณสถาพร พฤกษะศรี)
รูปที่ 3 ถ่ายเมื่อ 2510 (ภาพจากคุณกฤษณ์ เลขาพันธ์)
รูปที่ 4 ถ่ายเมื่อ 2506 (ภาพจากคุณอรรถ ศิริรักษ์)
เปรียบเทียบกับปัจจุบัน 2553

พระรูปเหมือนปั้มพระครูกาแก้ว วัดหน้าบรมพระธาตุ นครศรีธรรมราช


ข้อมูลจากร้านลุ้มน้ำพุมดวง จตุพล จันทร์ประเสริฐ

5 พ.ย. 2553

บันทึกภาพเก่าในอดีต...ที่น่าจดจำ















บันทึกภาพเก่าในอดีต...ที่น่าจดจำ











ของดีที่พระครูกาชาด(เจียม กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ เมตตาทำไห้ลูกศิษย์คราฟ...



พระครูกาชาด เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้เมตตาปลุกเสกไห้ วัตถุมงคลนี้ได้ทำไว้แจกในงานสรงน้ำ
และปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส ประจำปี 53 ถื่อเป็นรุ่นแรก.... ไม่มีขาย ลูกศิษย์ทำไว้เป็นที่ระลึกคราฟ

3 พ.ย. 2553

เหรียญหลวงปู่ทวดหลังพ่อท่านคล้าย ออกวัดหน้าพระบรมธาตุ ปี 2508



เหรียญพระพุทธชินราช วัดหน้าพระบรมธาตุ

สร้างประมาณปี 2470(ข้อมูจจากพระเคื่องตั้มศรีวิชัย)

เหรียญพระครูกาแก้ว วัดหน้าพระธาตุ ปี 2469


(ข้อมูลจากติ่ง ทุ่งสง)

รูปกระจกพระครูกาแก้ว


( ข้อมูลจาก ร้านนอโม)

เหรียญหลวงพ่อทวด-หลังพระครูกาแก้ว




(ข้อมูลจากร้านมนต์วิถีพระเครื่อง)


ของดีในอดีต


พระครูกาแก้ว เหรียญพระพุทธ พิมพ์จิ๋วและพิมพ์ไหญ่ เนื้อชันนะโรง ปี 2485 แจกทหาร
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

รวมเหรียญวัดหน้าพระบรมธาตุในอดีต





























รวมเหรียญพระครูกาแก้ว






















เหรียญปี 39