....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

15 ก.พ. 2554

รายนามศิษย์เก่าวัดหน้าพระบรมธาตุ


รายนามศิษย์เก่าวัดหน้าพระบรมธาตุ ลงชื่อในวันทอดกฐิน ปี 25531. ท่านชอบ คล้ายแก้ว (พระครูอดิศัยธรรมศาสก์) เป็นศิษย์วัด พ.ศ. 2499-2505
(ปัจจุบันเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ) โทรศัพท์ 075-320683
2. นายสบาย จันทวี เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2493-2499 โทรศัพท์ 055-816802
3. นายโอฬาร มีศักดิ์ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2497-2500 โทรศัพท์ 081-6181346
4. นายเสริม จันทวี เป็นศิษย์วัด พ.ศ. – 2508 โทรศัพท์ 081-99595175. นายวิชิต กาฬกาญจน์ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2494-2500 โทรศัพท์ 02-42152256. พ.ท. มงคล ชูหนู เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2496-2502 โทรศัพท์ 075-451750,086-74220857. นายเป็นสุข จันทวี เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2496-2504 โทรศัพท์ 081-5358359,075-3416738. พ.ท.กฤษดา ดวงทิพย์ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2494-2499 โทรศัพท์ 089-12983789. นายสุวิทย์ หมกทอง เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2508-2514 โทรศัพท์ 081-5977507, 083-521977910.นายสวาท ชูเสือหึง เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2497-2502 โทรศัพท์ 085-7815390
11. นายประสิทธิ์ อินทรทองดำ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2495-2501 โทรศัพท์ 075-317794, 087-6204067
12. นายเสริม มะลิชู เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2496-2501 โทรศัพท์ 076-274259
13. นายสมปอง บุญแก้ววรรณ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2498-2500 โทรศัพท์ 075-362111
14. นายเจริญ ยวงทอง เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2497-2503 โทรศัพท์ 086-5966448
15. ร.ต.ต.ณัฐพร วัชรปุญญา เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2504-2515 โทรศัพท์ 075-34684616. นายสมภาคย์ อภิวันท์ เป็นศิษย์วัด พ.ศ. 2495-2502 โทรศัพท์ 077-26941117. นายนิยม สุขแจ่ม เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2495-2501 โทรศัพท์ 075-312468
18. นายสนั่น ธานีรัตน์ เป็นศิษย์วัด พ.ศ. 2491-2495 โทรศัพท์ 075-34633719. นายสมภพ นาคปลัด เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2491-2495 โทรศัพท์ –20. นายอินทร์ ฑิตสุวรรณ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2492-2502 โทรศัพท์ 075-31436421. นายสมัคร พฤกษ์เสถียร เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2487-2491 โทรศัพท์ 075-762156, 081-895013522. นายวิเชียร กลางถิ่น เป็นศิษย์วัด พ.ศ. 2496-2503 โทรศัพท์ 075-343102, 086-2802782
23. นายถนอม อ่อนเกตุพล เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2497-2502 โทรศัพท์ 02-4483197, 089-9879755
24. นายสุนทร กลางถิ่น เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2499-2501 โทรศัพท์ 085-8850629
25. นายสุมน สุวรรณกำเนิด เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2499-2501 โทรศัพท์ 075-345922, 089-473673726. นายสุนทร กาละกาญจน์ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2497-2503 โทรศัพท์ 075-34315327. พันตรีอุดร บานใจ เป็นศิษย์วัด พ.ศ.2497-2504 โทรศัพท์ 084-0638158

เงินทอดกฐินสามัคคี วัดหน้าพระบรมธาตุ ปี2553 จำนวนเงิน 471,719 บาท.

ลูกศิษย์ท่านใคต้องการร่วมทำบุญเพิ่มเติมสามารถโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารออมสิน สาขานครศรีฯ

ชื่อบัญชี กฐินสามัคคีวัดหน้าพระบรมธาตุปี 2553 เลขที่บัญชี 020026498251

หรือ มาร่วมบุญที่วัดได้ทุกวัน......

พิเศษ.... สำหรับลูกศิษย์ วัดหน้าพระบรมธาตุ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี จะมีการปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสและสรงน้ำประจำปี

เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ครั้งนี้...จัดเป็นปีที่ 2 จึงขอเชิญลูกศิษย์ทุกรุ่น..และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้ด้วย...

กรุณาบอก...ต่อๆ กันด้วย นะ....

14 ก.พ. 2554

วันมาฆบูชา



เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่
วัน "มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์ ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

ความเป็นมา

๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้น เมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
- วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
- พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
- สงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖

- พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้าเพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา

๒. การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบการสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส การประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อนในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบ พระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับวันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้างเช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้เสด็จออกเองบ้าง เพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวัง เดิมทีมีการประกอบพิธี ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบันมีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ หากปีใดเป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔ หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึงหลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖

หลักธรรม : หลักการ ๓

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะการทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตา และปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ)
ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวงด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

หลักธรรม : อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาก การดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

หลักธรรม : วิชาการ ๖

๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี


ข้อปฏิบัติสำหรับชาวพุทธในวันมาฆบูชา ที่ควรทราบมีดังนี้

๑. จัดเตรียมเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน มาพร้อมกันที่วัด ตามเวลานัดหมาย เพื่อฟังโอวาทหรือพระธรรมเทศนา และเวียนเทียน
๒. ก่อนออกจากบ้าน ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส และแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
๓. เมื่อถึงวัดแล้ว ควรอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยหยอกล้อ วิ่งเล่น หรือกระทำภารกิจอื่นอันไม่ควร เช่น เคาะระฆังเล่น จุดดอกไม้ไฟ ฯลฯ
๔. เมื่อถึงเวลาประกอบพิธี ให้ทุกคนไปเข้าแถวหรือเข้าไปในสถานที่กำหนดโดยพร้อมเพรียงกัน
๔. ก่อนเริ่มพิธีเวียนเทียน พระสงฆ์ผู้เป็นประธาน จะกล่าวให้โอวาท ทุกคนต้องพนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนตั้งใจฟังด้วยความสงบ กล่าวคำสาธุ เมื่อพระสงฆ์ให้โอวาทจบ
๖. ในพิธีสวดมนต์ จะมีผู้กล่าวนำคำบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา และคำบูชาพระรัตนตรัย ให้ทุกคนจุดธูปเทียนประนมมือ กล่าวตามด้วยความเคารพ มีจิตใจยึดมั่น

หลังจากสวดมนต์เสร็จ ประธานในพิธีจะนำเวียนเทียน โดยเริ่มจากพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป หากครูอาจารย์พานักเรียนมาเป็นหมู่คณะในตอนบ่าย ก็จะให้มีการเวียนเทียนกันก่อน
ในการเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์ จะกระทำ ๓ รอบ โดยเวียนไปทางขวา เรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฏ

ในรอบที่ ๑ ให้รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาคาถา บทอิติปิโส ภควาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
ในรอบที่ ๒ ให้รำลึกถึงคุณพระธรรม โดยภาวนาคาถา บทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
ในรอบที่ ๓ ให้รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ โดยภาวนาคาถา บทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ

๗. ในการเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบ และแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยหรือเดินแซงผู้ที่เดินอยู่ข้างหน้า
๘. เมื่อเวียนเทียนครบ ๓ รอบแล้ว ให้นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางไว้ในจุดกำหนด เพื่อสะดวกแก่การเก็บทำความสะอาด
๙. หลังจากเสร็จพิธีเวียนเทียนแล้ว ควรช่วยกันเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณโบสถ์ให้เรียบร้อย แล้วแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความสงบอิ่มเอมใจ หรืออยู่ร่วมพิธีอื่นๆ ที่ทางวัดจัดให้มีขึ้น

ข้อเสนอแนะ ในวันมาฆบูชา

- ควรออกมาทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า
- ตั้งใจรักษาศีลห้าให้ครบถ้วน อย่างน้อยก็ให้รักษาไว้ตลอดทั้งวัน
- และในตอนเย็น ควรไปร่วมพิธีเวียนเทียน เพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทย เป็นการร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา
- ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษา และที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยายฉายสไลด์ หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันมาฆบูชา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจ

ประเพณีกวนข้าวยาคู นครศรีฯ













ประเพณีกวนข้าวยาคู
ข้าวยาคูหรือข้าวยาโค เป็นชื่อที่คนภาคใต้เรียกกันท่าไป ในพุทธประวัติเรียกว่า “ข้าวมธุปายาสยาคู” ซึ่งเป็นข้าวที่นางสุชาดานำไปถวายพระพุทธเจ้า

ความเชื่อ
พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ให้สมองดีเกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค ทำให้ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาว และเป็นโอสถขนานเอก ขจัดโรคร้ายทุกชนิด และบันดาลความสำเร็จในการประกอบอาชีพเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริโภคด้วย

กำหนดเวลากวนข้าวยาคู
เดือนสามเป็นระยะเวลาที่ข้าวในนากำลังออกรวง เมล็ดข้าวยังไม่แก่กำลังเป็นน้ำนมข้าวสำหรับนำมากวนข้าวยาคู ชาวบ้านจึงนิยมกวนข้าวยาคูในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือน๓ โดยใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวยาคู เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมของประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการจัดกวนข้าวยาคูขึ้นตามวัดต่างๆ และได้มีการจัดพิธีกวนข้าวยาคูเป็นพิเศษ จำนวน ๙ กระทะ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เป็นประจำทุกปี

การเตรียมการ

๑.เครื่องปรุง
เครื่องปรุงมีมากกว่า ๕๐ ชนิด มีทั้งพวกพืชผลและพืชสมุนไพรผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามฤดูกาล ซึ่งจัดเครื่องปรุงแยกเป็นประเภทได้ดังนี้
๑.๑ น้ำนมข้าว เป็นเครื่องปรุงที่สำคัญที่สุดได้จากการเก็บข้าวที่กำลังมีน้ำนม ชาวใช้กะลามะพร้าวรูดเอาแต่เมล็ดออกจารวงนำเมล็ดข้าวไปตำให้แหลกแล้ว นำมาคั้นเอาน้ำนมข้าว ใช้วิธีการเดียวกับการคั้นกะทิ แล้วกรองให้สะอาดเก็บเตรียมไว้
๑.๒ ประเภทผลไม้ เช่น ขนุน จำปาดะ มังคุด ละมุด อินทผาลัม กล้วย เงาะ พุทรา มะละกอ ทุเรียนสด ทุเรียนกวน มะตูม สาคูวิลาด และผลไม้อื่นๆ ที่มีตามฤดูกาล ผลไม้เหล่านี้ปอกเปลือกแกะเมล็ด หั่น ต้ม เตรียมไว้
๑.๓ประเภทพืชผัก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวโพดอ่อน ข้าวเม่า ข้าวตอก ฟักทอง ถั่วลิสงคั่ว เมล็ดผักชี ลูกบัว หอม กระเทียม ซึ่งแต่ละชนิดเตรียมด้วยการหั่น ซอย คั่วหรือตำให้ละเอียด
๑.๔ประเภทพืชมีหัว ได้แก่ เผือก มันเทศ มันล่า หัวมันหอม เป็นต้น ปอกเปลือกหั่นแล้วนำไปต้มในน้ำกะทิเตรียมไว้
๑.๕ประเภทน้ำผึ้งและนม ได้แก่ น้ำผึ้งรวง น้ำตาลทราย น้ำตาลขัณฑสกร น้ำตาลปิ๊บ น้ำอ้อย นมสด นมข้น นมผง น้ำลำไย น้ำบัวบก เป็นต้น
๑.๖ประเภทสมุนไพร ได้แก่ พริกไทย ลูกกระวาน กานพลู ราแดง ราขาว ราตั๊กแตน ชะเอม ดีปลีเชือก (ดีปลี) ลูกจันทน์ รกจันท์ ดอกจันท์ นำเครื่องเทศทั้งหมดคั่วให้มีกลิ่นหอมแล้วนำไปตำร่อนเอาแต่ส่วนที่ละเอียด ส่วนขิงแห้ง หัวเปราะ หัวกระชาย หัวข่า อบเชย และโป้ยกั๊ก นำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ
๑.๗ประเภทแป้ง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งขาวเหนียว เวลาจะกวนจึงละลายผสมในน้ำนมข้าว
๑.๘มะพร้าว นำไปขูดเอกน้ำกะทิแล้วเคี่ยวให้แตกมันจนกลายเป็นน้ำมันมะพร้าวเก็บพักไว้

การผสมเครื่องปรุง
นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยแบ่งเครื่องปรุงทุกชนิดออกเป็นส่วนๆ เท่าๆ กัน ใส่ภาชนะโอ่งดินพักไว้ จำนวนโอ่งดินที่ใช้ใส่เครื่องปรุงทั้งหมดจะเท่ากับจำนวนกระทะใบบัวที่ใช้กวนข้าวยาคู อาจจะเป็น ๕ – ๗ – ๙ กระทะ
การเตรียมอุปกรณ์เตาไฟ
การกวนข้าวยาคูต้องใช้ความร้อนสูง ลักษณะของเตานิยมขุดลงไปในพื้นดินเป็นรูปตัวที ให้ความร้อนระอุอยู่ภายในตลอดเวลา เตาดินสามารถเก็บความร้อนไว้ได้มากลมไม่โกรก มีช่องสำหรับใส่ฟืนเชื้อเพลิงและมีรูช่องระบายอากาศ ชาวบ้านเรียกว่า รูพังเหย เตาไฟของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารใช้เป็นเตาเหล็กตั้งบนพื้นดินแต่เก็บความร้อนได้ดี
การเตรียมบุคลากรที่สำคัญ
๑.สาวพรหมจารี เพื่อความเป็นสิริมงคลในการกวนข้าวยาคูในพิธีต้องใช้สาวพรหมจารีคือผู้หญิงที่บริสุทธิ์ รับสมาทานเบญจศีลก่อนเข้าพิธีกวนแต่ละเตาจะใช้จำนวน ๓ คน
๒.นิมนต์พระสงฆ์สำหรับสวดชัยมงคลคาถาพร้อมทั้งเครื่องใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น ด้าย สายสิญจน์ และอื่นๆ
๓.ด้านสายสิญจน์ วงจากพระสงฆ์มาผูกไว้ที่ไม้พาย (ไม้กวน) เพื่อให้สาวพรหมจารีจับไม้พายที่ผูกสายสิญจน์ไว้
ขั้นตอนในการกวนข้าวยาคู
การกวนข้าวยาคู ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เริ่มด้วยพิธีบวงสรวงพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ เสร็จแล้วจึงบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล สาวพรหมจารีรับสมาทานศีล ประธานในพิธีทัดดอกมะตูมให้สาวพรหมจารี
๑.เริ่มพิธีกวน สาวพรหมจารียืนประจำกระทะละ ๓ คน พนักงานนำเครื่องปรุงวางบนโต๊ะข้างกระทะ ประธานในพิธีเข้าประจำที่กระทะ เริ่มพิธีกวนข้าวยาคูโดยประธานในพิธีเทเครื่องปรุงลงในกระทะ จับไม้กวนมีการลั่นฆ้องชัย ตั้งแต่เริ่มกวนพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาจนจบเป็นอันว่าเสร็จพิธีต่อไปใครจะกวนก็ได้
๒.วิธีกวน การกวนข้าวยาคูต้องกวนอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้ไม่ติดกระทะ เมื่อข้าวยาคูเริ่มเหนียวหนืดจะใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวไว้เติมลงในกระทะ ไม่ให้ข้าวยาคูติดไม้พาย ข้าวยาคูจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำเมื่อกวนเสร็จ และมีกลิ่นหอมเครื่องเทศ
๓.ระยะเวลาในการกวนข้าวยาคู ใช้เวลาประมาณ ๘ ถึง ๙ ชั่วโมง ส่วนมากเริ่มกวนเวลา ๑๙.๐๐ น. แต่ละกระทะจะใช้เวลากวนไม่เท่ากัน เพราะการใส่ส่วนผสมและขนาดของกระทะไม่เท่ากัน รวมทั้งการเติมไฟเชื้อเพลิงแต่ละกระทะไม่เสมอกัน ทำให้ข้าวยาคูกระทะแรกมักจะสุกได้ที่ใช้เวลาประมาณ ๗ ชั่วโมง คือเสร็จประมาณ ๐๒.๐๐ น. ส่วนกระทะสุดท้ายอาจกวนจนเช้าถึงเวลา ๐๕.๐๐ น. จึงแล้วเสร็จ
๔.ตักข้าวยาคูจากกระทะใส่ถาด เกลี่ยข้าวยาคูให้บางๆ ในถาดวางไว้จนข้าวยาคูเย็นลงต้องทิ้งระยะหนึ่ง ในวันรุ่งขึ้นจึงร่วมกันตัดข้าวยาคูบรรจุใส่ถุงและบรรจุลงกล่องสำหรับนำไปถวายพระในวัด แจกจ่ายฝากญาติมิตรที่มาร่วมในพิธีทั่วทุกคน ที่เหลือจัดส่งไปยังวัดต่างๆ และนำไปฝากญาติมิตร ซึ่งข้าวยาคูของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารพุทธศาสนิกชนจะรับได้ในวันมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ

สาระสำคัญ
การกวนข้าวยาคูเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติเพราะเป็นการปลูกฝังให้คนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาสาระสำคัญมีดังนี้
๑.ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่ญาติและมิตรสหาย เพราะต้องร่วมแรงร่วมใจจัดหาอุปกรณ์ เครื่องปรุง การกวนต้องใช้ทั้งเวลาและผู้คน
๒.เป็นประเพณีที่มีความสัมพันธ์กับสังคมเกษตรกรรม คือให้ความสำคัญต่อข้าวหรือน้ำนมข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของชาวไทย
๓.การแบ่งปันข้าวยาคูแสดงให้เห็นว่าทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันเกิดความห่วงใยซึ่งกันและกัน แม้ไม่ได้มาร่วมกวนข้าวยาคู ก็จะได้รับข้าวยาคูเป็นของฝากให้ได้รับประทานทั่วถึงกันทุกคน
๔.เป็นการอนุรักษ์และปฏิบัติตามประเพณีที่ดีงาม และเป็นการถ่ายทอดประเพณีให้แก่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงวิธีการกวนข้าวยาคู เพื่อสืบทอดประเพณีให้คงอยู่ตลอดไป

สูตรข้าวยาคูของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

ส่วนผสมข้าวยาคู ๙ กระทะ
สูตรข้าวยาคูของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นสูตรของชาวบ้านพระเพรง อำเภอพระพรหม ซึ่งส่วนผสมมีทั้งหมด ๒๖ ชนิด แบ่งออกเป็น ๘ ประเภท ดังนี้
เครื่องปรุง
๑.น้ำนมข้าว ได้แก่
-น้ำนมข้าว โดยใช้ข้าวที่ตั้งท้อง จำนวน ๖๐ เลียง
ซึ่งต้องนำมาขูดเมล็ดข้าวออกจากรวง ใส่ครกตำ แล้วนำมาคั้นกรองเอาเฉพาะน้ำนมข้าว
๒.ประเภทผลไม้ ได้แก่
-ขนุน จำนวน ๒๐๐ ก.ก.
-จำปา(จำปาดะ) จำนวน ๒๐๐ ก.ก.
-ทุเรียน จำนวน ๒๐๐ ก.ก.
-ทุเรียนกวน จำนวน ๙ ก.ก.
ผลไม้แต่ละชนิดต้องปอกหั่นเตรียมไว้สำหรับผสมเครื่องปรุง
๓.ประเภทพืชผัก ได้แก่
-ฟักทอง จำนวน ๑๐ ก.ก.
-ลูกบัว จำนวน ๒ ก.ก.
-งาขาว จำนวน ๒ ก.ก.
-ถั่วลิสง จำนวน ๑๕ ก.ก.
-หัวหอม จำนวน ๑๕ ก.ก.
ฟักทองต้องนำมาปอกหั่นเป็นชิ้นแล้วนำไปต้มให้สุกในน้ำกะทิ ลูกบัวแช่น้ำแล้วนำไปตำให้ละเอียด ถั่วลิสงและงาขาวคั่วให้สุก หัวหอมปอกเปลือกหั่นเตรียมไว้
๔.พืชประเภทหัว ได้แก่
-มันเทศ จำนวน ๑๐ ก.ก.
-เผือก จำนวน ๑๐ ก.ก.
-หัวมันหอม จำนวน ๓๐ ก.ก.
เผือกมันทุกชนิดปอกเปลือก หั่นแล้วนำไปต้มในน้ำกะทิเตรียมไว้
๕.ประเภทน้ำผึ้ง น้ำตาล และนม ได้แก่
-น้ำตาลปี๊บ จำนวน ๒ ปี๊บ
-น้ำตาลทราย จำนวน ๖ กระสอบ
-น้ำตาลกรวด จำนวน ๑ ก.ก.
-นมข้น จำนวน ๙ โหล
-นมสด จำนวน ๑๘ โหล หรือใช้นมสด จำนวน ๒ ถัง
-น้ำผึ้งรวง จำนวน ๙ ขวด หรือมากกว่านี้ก็ได้
-น้ำอ้อย จำนวน ๙ แกลลอน
-โอวัลติน จำนวน ๑๐ ก.ก.
๖.ประเภทพืชสมุนไพร ได้แก่
-เครื่องเทศ จำนวน ๔ ก.ก.
เช่น พริกไทย พริกเชือก ลูกกระวาน อบเชย โกษบัว โกษฐพุงปลา โป้ยกั๊ก กานพลู ให้นำสมุนไพรทั้งหมดไปอบให้สุกนำไปบดให้ละเอียดแล้วร่อนเอาเฉพาะผงละเอียด
๗.ประเภทแป้ง ได้แก่
-แป้งข้าวเจ้า จำนวน ๕ ลัง
-แป้งข้าวเหนียว จำนวน ๕ ลัง
เมื่อใกล้เวลาจะกวนให้ละลายแป้งด้วยน้ำกะทิเตรียมไว้โดยใช้ผ้าขาวกรองแป้งให้ละเอียด
๘.ประเภทมะพร้าว และน้ำมัน ได้แก่
-มะพร้าว จำนวน ๙๐๐ ลูก
-น้ำมันพืช จำนวน ๑๘ ปี๊บ
มะพร้าวต้องขูดแล้วคั้นกะทิไปเคี่ยวให้ได้น้ำมันมะพร้าวเตรียมไว้ก่อน เวลากวน

ข้อมูลจากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครศรีธรรมราช

สำหรับใน"เมืองคอน"การกวนข้าวยาคูมีหลายวัดหลายสูตรซึ่งแล้วแต่สภาพท้องถิ่น แต่ก็มีจุดประสงค์ในการกวนข้าวเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด

11 ก.พ. 2554

วัดหน้าพระบรมธาตุ ขอเชิญร่วมงานสรงน้ำประจำปีและปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี





วัดหน้าพระบรมธาตุ ครบรอบ 754 ปี ขอเชิญลูกศิษย์และนักบุญทุกท่าน มาร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน ในวันที่ 13 เมษายน เวลา 09.00 เป็นต้นไป

10 ก.พ. 2554

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ นครศรีธรรมราช










ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน

ประวัติความเป็นมา ในสมัยที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์ครองเมืองตามพรลิงค์อยู่นั้น ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ ครั้งใหญ่และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1773 ขณะเตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่งซึ่งมีภาพเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติมาขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักผ้าผืนนั้นจนสะอาดเห็นภาพวาดพุทธประวัติ เรียกกันว่า “ผ้าพระบฏ” และรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธจากเมืองหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาตรที่ลังกา แต่ถูกพายุพัดพาขึ้นที่ชายฝั่งปากพนัง เหลือผู้รอดชีวิตสิบคน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ แม้ไม่ใช่พระพุทธบาตตามที่ตั้งใจ แต่ก็เป็นพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเจ้าของผ้าพระบฏก็ยินดี การแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและดำเนินการสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน

ความเชื่อ นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันมาว่า การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมายมาสักการะเมื่อถึงวันดังกล่าว

ระยะเวลา แต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร แต่ปัจจุบันนิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) ซึ่งมีประชาชนไปร่วมประเพณีกันเป็นจำนวนมาก

พิธีกรรม
การเตรียมผ้าพระบฏ ผ้าที่นำขึ้นแห่องค์พระธาตุเจดีย์ มักจะนิยมใช้สีขาว เหลือง และแดง พุทธศานิกชนคนใดต้องการห่มผ้าพระธาตุ จะตระเตรียมผ้าขนาดความยาว ตามความศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดจะนำผ้ามาผูกต่อกันเป็นขนาดยาวที่สามารถห่มพระบรมธาตุรอบองค์ได้ หากใครต้องการทำบุญร่วมด้วยก็จะบริจาคเงินสมทบในขบวนผ้าพระบฏนี้ก็ได้ บางคนประดิษฐ์ตกแต่งชายขอบผ้าประดับด้วยริบบิ้น พู่ห้อยแพรพรรณ ลวดลายดอกไม้สวยงามแต่ผ้าห่มพระบรมธาตุเจดีย์ผืนพิเศษ จะเขียนภาพพุทธประวัติทั้งผืนยาว โดยช่างผู้ชำนาญเขียนภาพแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมานะพยายามในการทำผ้าพระบฏขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แต่ในปัจจุบัน ผ้าพระบฏซึ่งมีสีขาว สีแดง สีเหลือง ส่วนใหญ่เป็นผ้ายาวเรียบ ๆ ธรรมดา

ผ้าพระบฏสีขาว เหลือง แดง

การจัดขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุ เมื่อถึงวันแห่ผ้าขึ้นธาตุ มีการจัดอาหารคาวหวาน เครื่องอุปโภคและบริโภคไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร โดยการหาบคอนกันไปเป็นขบวนแห่ที่สวยงามพร้อมนำผ้าพระบฏไปวัดด้วย

ผ้าพระบฏเขียนภาพพุทธประวัติ

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังนครศรีธรรมราช ได้มีการจัดแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาและจัดให้มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ชาวบ้านได้นำผ้าที่เตรียมมาแห่งห่มพระบรมธาตุเจดีย์ด้วย

ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิบัติไปจากเดิมบ้าง โดยได้ยกเลิกการนำภัตตาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคที่นำไปทำบุญถวายพระ การประดับตกแต่งผ้าพระบฏก็ลดหรือตัดไปยังมีก็เฉพาะแต่ผ้าพระบฏของบางหน่วยงาน เช่น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เป็นต้น

เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวนใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น ผู้คนที่ศรัทธาก็มาจากหลายทิศทาง ต่างคนต่างคณะ ต่างจึงเตรียมผ้ามาห่มพระธาตุ ใครจะตั้งขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็สุดแต่ความสะดวก ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสาย เดิมขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุทุกขบวน นิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าขบวน ได้แก่ ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีโนรา แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกลองยาวบรรเลงจังหวะที่ครึกครื้น เพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเป็นแถวเรียงเป็นริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า ทุกคนชู (เทิน) ผ้าพระบฏไว้เหนือศีรษะ ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่าผ้าพระบฏเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้าจึงควรถือไว้ในระดับสูงกว่าศีรษะ
การถวายผ้าพระบฏ เมื่อแห่ถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วจะทำพิธีถวายผ้าพระบฏ โดยมีหัวหน้าคณะกล่าวนำด้วยภาษาบาลีแล้วตามด้วยคำแปลซึ่งมีใจความว่า “ข้าแต่พระผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าห่มพระธาตุนี้แก่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชา ข้าพเจ้าทั้งหลายขอกราบไหว้ซึ่งเจดีย์ทั้งหลายในสถานที่นี้ ขออานิสงส์แห่งบุญกุศล ของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าและญาติมิตรทั้งหลายเพื่อความสุขความเจริญตลอดกาลนานเทอญ”
การนำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ หลังจากกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วน้ำผ้าสู่วิหารพระทรงม้า เมื่อถึงตอนนี้ผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทนเพียงสามหรือสี่คนสมทบกับเจ้าหน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ไม่สามารถขึ้นไปรอบกำแพงแก้วได้หมดทั้งขบวน เพราะลานภายในกำแพงแก้วคับแคบและเป็นเขตหวงห้าม และเชื่อว่าที่ฐานพระบรมเจดีย์ มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ หากเดินบนลานกำแพงแก้วเป็นการไม่เคารพพระพุทธองค์

นำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์

ความสำคัญของการเกิดประเพณี พุทธศาสนิกชนมีจิตใจที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระธาตุครั้งหนึ่งไม่ให้ขาด ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีความสำคัญดังนี้

1. แสดงให้เห็นถึงลักษณะสังคมของนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชา เพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า
2. แสดงให้เห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธา พุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศจึงประสงค์ห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์อย่างพร้อมเพรียงกัน
ข้อมูลโดย
http://www.nakhontourism.org/travel/details.php?image_id=50&sessionid=641347bee08e4a1ca62f9f88d87fbca9

4 ก.พ. 2554

''ประเพณีให้ทานไฟ '''โดย พระมหาปรีดา ขนฺติโสภโณ

''ประเพณีให้ทานไฟ ''


พระมหาปรีดา ขนฺติโสภโณ

การให้ทานไฟ เป็นประเพณีต้นแบบเฉพาะของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนคร ศรีธรรมราช ที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ประเพณีการให้ทานไฟนี้ อาจจะไม่คุ้นหูหรือเป็นที่รู้จักของผู้ที่ไม่สันทัดกับประเพณีทางถิ่นใต้ อาจจะคิดว่าเป็นการให้ "ไฟ" เป็น ทาน หรือ ถวายไฟร้อน ๆ แก่พระภิกษุสงฆ์ เคยมีผู้เข้าใจว่า "ถวายถ่านไฟ" เพราะภาษาถิ่นใต้ ออกสำเนียง "ทาน" เป็น "ถ่าน" จึงเข้าใจไปอย่างนั้น การให้ทานไฟนี้ เป็นการถวายอาหารร้อน ๆ แก่พระภิกษุสามเณรในฤดูหนาวหรือในช่วงอากาศเย็นของชาวนครศรีธรรมราช ประเพณีนี้เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีความเชื่อในพระพุทธศาสนา ต้องการทำบุญกับพระภิกษุสามเณร โดยการถวายอาหารบิณฑบาตภายในวัด เพราะเมื่ออากาศหนาวเย็น พระภิกษุสามเณรไม่สะดวกที่จะออกไปบิณฑบาตนอกวัด จึงกลายเป็นประเพณีใหัทานไฟในปัจจุบัน

ความหมาย
การให้ทานไฟ หมายถึง การถวายความอบอุ่นแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วยไฟในฤดูหนาว ซึ่ง เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยพุทธกาล และนิยมทำกันจนกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช
การให้ทานไฟ คือ การก่อกองไฟให้เกิดความอบอุ่นแก่พระสงฆ์ในฤดูหนาวและให้พระสงฆ์ได้ฉันอาหารร้อน ๆ ไปพร้อมกันด้วย การให้ทานไฟ เป็นการทำบุญเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์เกิดความอบอุ่นในตอนเช้ามืดของคืน ที่มีอากาศหนาวเย็น โดยใช้ลานวัดเป็นที่ก่อไฟแล้วทำขนมถวายพระ
กล่าวโดยสรุป การให้ทานไฟ เป็นประเพณีเฉพาะถิ่นของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาก่อไฟให้ความอบอุ่นและปรุงอาหารร้อน ๆ ถวายแก่พระภิกษุสามเณรตอนเช้ามืดที่อากาศหนาวเย็นจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของประเพณีการให้ทานไฟนี้ สันนิษฐานว่า มีเรื่องราวความเป็นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีความเห็นเป็น ๒ นัย ดังนี้

นัยที่ ๑ เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ มีเรื่องเล่าว่า ในเมืองราชคฤห์ มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ "โกสิยะ" มีทรัพย์สิน ๘๐ โกฏิ แต่เป็นคนตระหนี่ ไม่ให้ทาน ไม่บริจาค ไม่อำนวยประโยชน์แก่ผู้ใดเลย แม้แต่ภรรยาและบุตรของตน ต่อมา เศรษฐีต้องการกินขนมเบื้อง (ขนมกุมมาส) จึงให้ภรรยาไปแอบทำขนมบนปราสาท เพราะเกรงว่าผู้อื่นจะรู้เห็นแล้วจะมาขอแบ่งขนมกินด้วย ความนี้ ได้ทราบถึงพระพุทธเจ้า เพื่อจะโปรดเศรษฐีให้มีใจน้อมไปในการบริจาคทานจึงได้มอบหมายพระโมคคัลลานเถระ อัครสาวกเบื้องซ้ายไปโปรดโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่คนนี้ เมื่อพระเถระรับพุทธบัญชาแล้วก็ไปแสดงอิทธิฤทธิ์ทรมานเศรษฐีด้วยวิธีการต่าง ๆ จนเศรษฐีคลายความพยศ ได้ถวายขนมเบื้องแก่พระเถระ เพราะกลัวไฟจะไหม้ปราสาทของตนด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระเถระ เมื่อเศรษฐีถวายขนมเบื้องแล้ว พระเถระได้แสดงพระธรรมโดยพรรณนาคุณพระรัตนตรัย และแสดงอานิสงส์การให้ทาน จนเศรษฐีมีจิตเลื่อมใส ได้นำขนมเบื้องและวัตถุทานอื่น ๆ มาถวายแก่พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ด้วยพุทธานุภาพขนมเบื้องที่เศรษฐีนำมาถวายพระ มีเหลือมากมาย แม้จะแจกจ่ายแก่ชาวบ้าน คนยากจนขอทาน ขนมก็ยังล้นเหลือ จนถึงกับนำไปเททิ้ง ที่ใกล้ซุ้มประตูวัดเชตวัน ปัจจุบันสถานที่เทขนมเบื้องทั้งนั้น เรียกว่า เงื้อมขนมเบื้อง กาลต่อมา โกสิยเศรษฐี กลายเป็นเศรษฐีใจบุญชอบให้ทาน และ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ด้วยมูลเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ ประเพณีการให้ทานไฟในปัจจุบัน


นัยที่ ๒ นายเจริญ ตันมหาพรหม ได้ให้ทัศนะความเป็นมาของประเพณีการให้ทานไฟไว้ว่า การให้ทานไฟนี้ ปรากฏอยู่ในครั้งพุทธกาล ณ เมืองสาวัตถี นครหลวงแห่งแคว้นโกศล ที่ปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ และเป็นศาสนูปถัมภก อีกทั้ง เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษามากที่สุด คือรวมทั้งหมด ๒๕ พรรษา
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่บนปราสาทชั้นบนทอดพระเนตรไปทางถนนในพระนคร เห็นพระภิกษุจำนวนนับร้อยนับพันไปยังบ้านของท่านอนาถปัณฑิกเศรษฐีบ้าง บ้านของนางวิสาขาบ้าง และบ้านของคนอื่นๆ บ้าง เพื่อรับบิณฑบาตบ้าง เพื่อฉันภัตตาหารบ้าง พอเห็นดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงโปรดฯ ให้จัดภัตตาหารอันประณีตเพื่อพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป แต่ปรากฏว่าไม่มีพระมารับสักรูป คงมีแต่พระอานนท์เพียงรูปเดียวเท่านั้น พอพระอานนท์กลับไปแล้ว จึงตรัสถามมหาดเล็ก ได้รับคำกราบบังคมทูลว่าไม่มีพระมาคงมีแต่พระอานนท์รูปเดียว เท่านั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกริ้วภิกษุทั้งหลาย จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลว่า ได้ให้ห้องเครื่องจัดภัตตาหาร ตั้งไว้ถวายพระประมาณ ๕๐๐ รูป ไม่ปรากฏมีพระมารับกันเลย ของที่จัดไว้เหลือเดนอยู่อย่างนั้น เหตุใดพระภิกษุไม่เห็นความสำคัญในพระราชวังเลย นี่เรื่องอะไรกันพระพุทธเจ้าได้ทรงฟังพระดำรัสดังนั้นก็เข้าพระทัยตลอด ไม่ตรัสตำหนิโทษพระภิกษุทั้งหลาย และถวายพระพรว่า "สาวกของอาตมภาพไม่มีความคุ้นเคยกับมหาบพิตร เพราะเหตุที่ไม่มีความคุ้นเคย นั่นเองจึงไม่พากันไป"
ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงประกาศเหตุที่ภิกษุไม่ควรเข้าไปในตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ คือ
๑ . ไม่ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๒ . ไม่ไหว้ด้วยความเต็มใจ
๓ . ไม่ให้อาสนะ (นิมนต์นั่ง) ด้วยความเต็มใจ
๔ . ซ่อนเร้นของที่มีอยู่
๕ . ของที่มีมากแบ่งให้นิดหน่อย
๖ . มีของประณีต แต่ให้ของเศร้าหมอง
๗ . ให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ
๘ . ไม่นั่งฟังธรรม
๙ . ไม่สนใจต่อถ้อยคำของกันและกัน
องค์ประกอบที่กล่าวมาทั้ง ๙ ประการนี้ ถ้าภิกษุยังไม่เข้าไป ก็ไม่ควรเข้าไป เข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้ เมื่อเรื่องนี้ผ่านไปแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงครุ่นคิดอยู่ว่าพระพุทธองค์ตรัสแต่ว่า สาวกของพระองค์ไม่มีความคุ้นเคยในราชสำนัก ทรงดำริต่อไปว่า ถ้าภิกษุสามเณรมีความคุ้นเคย ในราชสำนักแล้ว ก็คงจะพากันเข้ามาวันละมากๆ รูป เหมือนพากันไปในบ้านของนางวิสาขาและ บ้านของอนาถปัณฑิกเศรษฐี ทรงคิดอยู่ว่า "ทำอย่างไรพระเณรจะมีความคุ้นเคยกับเราได้" พระองค์ทรงพิจารณาถึงสภาพในฤดูหนาวในเมืองสาวัตถี พระภิกษุสามเณรคงหนาว เย็นกว่าฆราวาสผู้อยู่ครองเรือนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามออกบิณบาตในตอนเช้าตรู้ ความหนาว เย็นคงเป็นอุปสรรคมาก เพราะพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์เพียง ๓ ผืน นอกจากนี้ ยังทำให้พระภิกษุที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา อยู่ตามวัดและสถานที่ต่าง ๆ บางรูปร่างกาย อ่อนแอถึงกับอาพาธได้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเกิดความเวทนาและก่อไฟถวายพระให้ได้ผิงในยาม ใกล้รุ่ง ต่อมา ชาวเมืองเห็นว่า การให้ทานไฟในตอนใกล้รุ่ง อีกไม่นานฟ้าก็จะสว่าง จึงได้ เสาะหาหัวเผือก หัวมันมาเผา และนำแป้งมาปรุงเป็นภัตตาหารถวายพระภิกษุสามเณร เป็นการ ทำบุญจะได้อานิสงส์มากขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ?มาทางภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเพณีให้ทานไฟพลอยตกทอดมาถึงพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชด้วย
ถึงแม้ความเห็นทั้ง ๒ นัยนี้ จะไม่กล่าวถึงการให้ทานไฟโดยตรง แต่ก็มีเค้ามูลหรือสาเหตุ ให้สันนิษฐานได้ว่า ประเพณีการให้ทานไฟมีประวัติความเป็นมาดังที่กล่าวมาแล้ว แท้จริงการ ให้ทานในทางพระพุทธศาสนา มีเรื่องราวที่น่าสนใจและมีสาระธรรมจำนวนมากที่พุทธบริษัทจะนำ มาศึกษาเทียบเคียง เพื่อเสาะหาต้นตอหรือสาเหตุของประเพณีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ประเพณีการให้ทานไฟด้วยการถวายขนมเบื้องในฤดูหนาวแก่พระภิกษุสงฆ์นี้ พระมหา กษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะต้องทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นประจำทุกปี มีหลักฐานปรากฏในพระราชนิพนธ์พระราชพิธี สิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า ".....กำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ว่า เมื่อพระอาทิตย์ออกสุดทางให้ตกนิจเป็นวันหยุดจะกลับ ขึ้นเหนืออยู่ในองศา ๘ องศา ๙ ราศีธนู เป็นกำหนดเลี้ยงขนมเบื้องไม่กำหนดแน่ว่า กี่ค่ำ วันใด การเลี้ยงขนมเบื้องนี้ ไม่ได้มีการสวดมนต์ก่อนอย่างพระราชพิธีอันใด กำหนดพระสงฆ์ตั้งแต่เจ้า พระราชาคณะ ๘๐ รูป ฉันในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ขนมเบื้องนั้น เกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายใน ท้าวนางเจ้าจอมมารดา เถ้าแก่ พนักงานคาดปะรำตั้งเตาละเลงข้างท้องพระโรง"

เวลา และสถานที่ให้ทานไฟ
ประเพณีการให้ทานไฟ นิยมประกอบพิธีกันในเดือนอ้าย หรือ เดือนยี่ของทุก ๆ ปี (ประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงหรือฤดูที่อากาศหนาวเย็นใน ภาคใต้ ปัจจุบันนิยมทำกันในวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคม เพราะตรงกับวันเด็กแห่งชาติ ทาง สถานศึกษาได้นำเด็ก ครู และผู้ปกครองมาประกอบพิธีให้ทานไฟในบริเวณวัดที่ใกล้โรงเรียน นับ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรของเด็กที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วย ทั้งนี้ จะเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการนี้ตั้งแต่ตอนรุ่งหรือเช้าตรู้ประมาณเวลา ๐๕.๐๐ น. แต่โดยทั่วไปก็ไม่ได้กำหนดวันที่ แน่นอน สุดแต่ความสะดวกของชาวบ้านหรือโรงเรียนในละแวกวัดจะกำหนดขึ้นเอง สำหรับสถานที่ประกอบพิธีหรือการถวายไฟนั้น จะกระทำกันในบริเวณวัดหรือใน ศาลาวัดก็ได้ ในปัจจุบัน ประเพณีการให้ทานไฟนี้จะทำกันเฉพาะบางวัดในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น เช่น วัดหัวอิฐ วัดมุมป้อม วัดศรีทวี วัดสระเรียง วัดหน่าพระบรมธาตุ วัดธาราวดี หรือบางจังหวัดที่ผู้คนชาวนครศรีธรรมราชไปอาศัยอยู่ เช่น จังหวัดพังงา จังหวัด สุราษฎร์ธานี ก็มีประเพณีการให้ทานไฟเช่นเดียวกัน แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก นอกจากนี้ สถาบัน การศึกษาบางสถาบัน ได้ประกอบพิธีการให้ทานไฟภายในสถาบันของตน เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
จะสังเกตได้ว่า ประเพณีการให้ทานไฟนอกจากจะประกอบพิธีภายในวัดแล้ว ยังได้ขยาย ฐานประเพณีไปยังสถานศึกษาที่แสดงบทบาทในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วย แต่ถ้าจะมอง กันอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า วัดซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญกุศล หรือเป็น บุญเขตไม่อาจตอบสนองบทบาทตามฐานะของตนได้ เพราะในปัจจุบันเหลือวัดจำนวนน้อยมาก ที่จะอนุรักษ์หรือสืบสานประเพณีการให้ทานไฟนี้ไว้ได้

พิธีกรรม
ในตอนรุ่งหรือเช้าตรู้ในวันนัดหมายที่จะให้ทานไฟ ชาวบ้านพุทธศาสนิกชนในละแวก นั้นจะพร้อมใจมากันที่วัด โดยจัดแจงเตรียมอุปกรณ์ เช่น ถ่าน ไม้ฟืน เตาไฟ พร้อมด้วยเครื่อง ปรุงอาหารหรือเครื่องทำขนมไปด้วย เมื่อถึงบริเวณวัดก็ช่วยกันก่อกองไฟและปรุงอาหารทำขนม กันทันที กองไฟจะก่อกี่กองก็ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของพระภิกษุสามเณรภายในวัดหรือที่นิมนต์มา จากวัดอื่น เมื่อก่อกองไฟเสร็จแล้วก็นิมนต์พระมาผิงไฟ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น อาหารและขนมที่ ปรุงสุกแล้วยังร้อน ๆ อยู่ ก็ถวายประเคนพระภิกษุสามเณรให้ฉันได้ทันที ไม่ต้องเจริญพระพุทธ มนต์ หรือกล่าวคำถวายสังฆทานเหมือนกับพิธีทำบุญในโอกาสอื่น ขณะที่ทำขนมกันไปพระสงฆ์ ก็ฉันไปพร้อม ๆ กัน จะหยุดปรุงขนมก็ต่อเมื่อเครื่องปรุงที่เตรียมมาหมด ขณะเดียวกัน ชาวบ้าน จะจัดเตรียมถุงหรือภาชนะเพื่อให้พระภิกษุสามเณรบรรจุอาหารนำไปฉันในตอนเพล เพราะตอน เช้าไม่ได้ออกรับบิณฑบาตตามปกติเหมือนทุกวัน เมื่อฉันเสร็จแล้ว อาจจะอาราธนาให้ประธาน สงฆ์หรือพระเณรที่ประธานมอบหมายกล่าวสัมโมทนียกถาก็ได้ เสร็จแล้วประธานสงฆ์จะให้พร อุบาสกอุบาสิกากรวดน้ำรับพร พระสงฆ์กลับวัดไปปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์ต่อไป ส่วนชาวบ้านที่ มาร่วมในพิธีก็จะรับประทานอาหารและขนมที่เหลือ และช่วยกันทำความสะอาดขนของกลับบ้าน เป็นอันเสร็จพิธีประเพณีการให้ทานไฟ

อาหารและขนมในพิธี
อาหารที่จะถวายพระภิกษุสามเณรส่วนใหญ่ จะเป็นอาหารที่ปรุงง่ายเป็นอาหารพื้นบ้าน ที่ยังรอนอยู่ เช่น ข้าวต้ม ข้าวผัด ข้าวหมกไก่ ข้าวยำ ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวหลาม หมี่ผัด หรือ เป็นอาหารอื่น ๆ ก็ได้ที่สมควรแก่สมณบริโภค ในปัจจุบัน จะมีอาหารเช้าประเภทอาหารฝรั่ง เช่น หมูแฮม ไข่ดาว แซนด์วิช ไส้กรอก ลูกชิ้น ไก่ทอด หรือเป็นอาหารทางภาคอีสานก็มี เช่น ส้มตำ ลาบ ส่วนขนมก็จะเป็นขนมทางถิ่นใต้ ขนมพื้นบ้านอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมขนมที่ สามารถปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ขนมส่วนมากจะปรุงโดยใช้ไฟแรง เช่น ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมโค ขนมพิมพ์ ขนมจาก ขนมจู้จุน มีความเชื่อกันว่า ขนมเบื้องของโกสิยเศรษฐี ที่ทำถวาย แก่พระสงฆ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร สืบทอดมาเป็น "ขนมกรอก" ที่ชาวพุทธเมืองนครศรีธรรมราช ทำถวายพระสงฆ์ในประเพณีให้ทานไฟ ขนมกรอกมีส่วนผสมและวิธีทำง่าย ๆ คือ ใช้ข้าวสารเจ้าแช่น้ำ กรอกบดด้วยหินเครื่องโม่ที่ชาวนครศรีธรรมราช เรียกว่า "หินบด" หรือ "ครกบด" โดย
บดอย่าให้ข้นหรือเหลวจนเกินไป แล้วคั้นกะทิติดไฟเคี่ยวให้แตกมันผสมลงไปในแป้งพร้อมน้ำตาล พอให้ออกรสหวาน ตอกไข่ใส่ตามส่วน ซอยหอมให้ละเอียดโรยแล้วตีไข่ให้เข้ากัน ต่อจากนั้นก็เอา กะทิตั้งไฟให้ร้อน ใช้น้ำมันพืชผสมไข่แดงเช็ดทากระทะให้เป็นมันลื่น เพื่อไม่ให้แป้งติดผิวกระทะ เมื่อหยอดแป้งละเลงให้เป็นแผ่น ต้องระวังไม่ให้แผ่นขนมกรอกบางเหมือนขนมเบื้องทั่วไป เพราะ จะไม่นุ่มและขาดรสชาติ พอสุกก็ตลบพับตักรับประทานทั้งร้อน ๆ ปัจจุบันขนมกรอกดังกล่าวนี้ ไม่นิยมทำกัน แต่นิยมทำขนมพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น ขนมครก ขนมผักบัว (เรียกตามภาษาพื้นเมือง ว่า ขนมจู้จุน) นอกจากนี้ ดิเรก พรตตะเสน ได้ให้ข้อสังเกตว่า การทำขนมกรอก นอกจากอินเดีย ลังกาเจ้าตำรับเดิมแล้ว ในประเทศไทยยังเอาข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนขนาดผลมะตูม ใช้ น้ำตาลปึกเป็นไส้ในเสียมไม้คลุกไข่ แล้วย่างไฟจนสุกกรอบแล้วถึงถวายพระ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันขนมและอาหารในประเพณีให้ทานไฟเพิ่มขึ้นจำนวนมากมาย ตามความสะดวกและศรัทธาของชาวบ้าน มีทั้งอาหารพื้นเมือง อาหารประจำภาคต่าง ๆ ในประเทศ ไทย และอาหารฝรั่ง พร้อมทั้งผลไม้และเครื่องดื่ม เช่น น้ำเต้าหู้ กาแฟ น้ำชา เป็นจำนวนมาก

สาระประโยชน์ที่ได้จากประเพณี
ประเพณีการให้ทานไฟของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช มีสาระประโยชน์ที่มี คุณค่าแก่ปัจเจกชนและสังคมโดยส่วนรวม ดังนี้
๑ . ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมาพบกัน พูดคุยกัน และร่วมมือกันประกอบพิธีกรรมภาย ในวัด พร้อมกันนี้ชาวบ้านกับพระสงฆ์ได้วิสาสะสร้างความคุ้นเคยตามหลักสาราณียธรรม โดย อาศัยประเพณีการให้ทานไฟนี้
๒ . พุทธศาสนิกชนได้ปรารภความเพียร มีความขยัน โดยการตื่นนอนแต่เช้าตรู่เพื่อ เตรียมอุปกรณ์ปรุงอาหารขนมถวายพระ ทำให้มีสุขภาพพลานามัยดี แข็งแรง เพราะการตื่นนอน ตอนเช้าตรู่ ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ทำให้มีความสดชื่นเบิกบาน แจ่มใส
๓ . เป็นโอกาสหนึ่งที่ได้นัดหมายพร้อมกันในตอนเช้ามืด เพื่อร่วมทำบุญเลี้ยงพระ รับประทานอาหารพร้อมกัน เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ และสร้างความเป็น ปึกแผ่นให้เกิดขึ้นในสังคม
๔ . ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยการถวายความอุปถัมภ์ให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งเป็นผู้รักษาสืบอายุพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองวัฒนาสืบไป
๕ . ได้บำเพ็ญบุญบารมี ด้วยการถวายทานเป็นการสั่งสมความสุขและความดีไว้กับตน อันเป็นเกาะคือที่พึ่งในปรโลกเบื้องหน้า ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
๖ . ได้อนุรักษ์และสืบสานประเพณีการให้ทานไฟ เป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของ พุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลัง ต่อไป
๗ . ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดย อาศัยประเพณีนี้ย่อมทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางสังคมมากมาย

สรุป
ประเพณีการให้ทานไฟ เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความเลื่อมใสใน พระรัตนตรัยของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราช ที่มีความปรารถนาให้พระภิกษุสามเณรคลาย หนาวโดยการถวายอาหารร้อน ๆ ซึ่งคล้ายกับพระราชพิธีเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ด้วยขนมเบื้อง แต่ การให้ทานไฟ เป็นพิธีของชาวบ้าน และทำกันเฉพาะถิ่นของชาวนครศรีธรรมราช คล้าย ๆ กับ ประเพณีบุญข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปิ้ง) ทางภาคอีสาน ในปัจจุบัน มีจำนวนน้อยวัดที่ยังอนุรักษ์และ สืบสานประเพณีนี้อยู่ ดังนั้น จึงสมควรได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วน งานอื่น ๆ ในการจัดประเพณีการให้ทานไฟ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีที่มีคุณค่านี้ไว้แก่ อนุชนรุ่นหลังต่อไป


(ที่มา: สารนิพนธ์)

ประเพณีให้ทานไฟ วัดหน้าพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

ประเพณีให้ทานไฟ นครศรีธรรมราช
ช่วงเวลา การให้ทานไฟ ส่วนใหญ่จะปฏิบัติในช่วงเดือนยี่ เป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็นที่สุด โดยชาวบ้านจะนัดหมายไปพร้อมกันในเวลาย่ำรุ่ง หรือตอนเช้ามืดของวันไหนก็ได้
ความสำคัญ
การให้ทานไฟ เป็นการทำบุญเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์เกิดความอบอุ่นในตอนเช้ามืดของคืนที่มีอากาศหนาวเย็น โดยใช้ลานวัดเป็นที่ก่อกองไฟแล้วทำขนมถวายพระ
ประวัติความเป็นมาของประเพณีให้ทานไฟ กล่าวถึงในขุนทกนิกายชาดก เรื่อง ความตระหนี่ถี่เหนียวของโกลิยะเศรษฐี ที่อยากกินขนมเบื้อง แต่เสียดายเงินไม่ยอมซื้อและไม่อยากให้ลูกเมียได้กินด้วย ภรรยาจึงทำขนมเบื้องที่บ้านชั้นเจ็ดให้เศรษฐีได้รับประทานโดยไม่ให้ผู้ใดเห็น ขณะที่สองสามีภรรยากำลังปรุงขนมเบื้อง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหาร ทรงทราบด้วยญาณ จึงโปรดให้พระโมคคัลลานะไปแก้นิสัยของโกลิยะเศรษฐี พระโมคคัคลานะตรงไปบนตึกชั้นเจ็ดของคฤหาสน์เศรษฐี เศรษฐีเข้าใจว่าจะมาขอขนม จึงแสดงอาการรังเกียจและออกวาจาขับไล่ แต่พระโมคคัคลานะพยายามทรมานเศรษฐีอยู่นานจนยอมละนิสัยตระหนี่ พระโมคคัลลานะได้แสดงธรรมเรื่องประโยชน์ของการให้ จนโกลิยะเศรษฐีและภรรยาเกิดความเลื่อมใส ได้นิมนต์มารับถวายอาหารที่บ้านตน พระโมคคัลลานะแจ้งให้นำไปถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก ๕๐๐ รูป ณ เชตวันมหาวิหาร โกลิยะเศรษฐีและภรรบาได้นำเข้าของเครื่องปรุงไปทำขนมเบื้องถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวก แต่ปรุงเท่าไหร่แป้งที่เตรียมมาเพียงเล็กน้อยก็ไม่หมด พระพุทธเจ้าจึงโปรดเทศนาสั่งสอน ทั้งสองคนเกิดความปีติอิ่มเอิบในการบริจาคทาน เห็นแจ้งบรรลุธรรมชั้นโสดาบัน
พิธีกรรม
๑. การก่อกองไฟ ชาวบ้านจะเตรียมไม้ฟืน ถ่าน หรือเตาไฟ สำหรับก่อให้เกิดความร้อนและความอบอุ่นแก่พระสงฆ์ บางแห่งนิยมใช้ไม้ฟืนหลายอันมาซ้อนกันเป็นเพิงก่อไฟ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มานั่งผิงไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่นทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง
๒. การทำขนมถวายพระ ขนมที่เตรียมไปปรุงที่วัดในการให้ทานไฟเป็นขนมอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมขนมที่สามารถปรุงเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว ขนมส่วนมากจะปรุงโดยใช้ไฟแรงและเป็นขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมเบื้อง ขนมครก ขนมครกข้าวเหนียว ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมโค ขนมพิมพ์ ขนมจาก ชนมจู่จุน ข้าวเหนียวกวนทอด ในปัจจุบันมีขนมและอาหารเพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น น้ำชา กาแฟ หมี่ผัด ข้าวต้ม ข้าวเหนียวหลาม ขนมปังปิ้ง ชาวบ้านจะปรุงขนมตามที่เตรียมเครื่องปรุงมา แล้วนำขนมที่ปรุงขึ้นมาร้อน ๆ ไปถวายพระสงฆ์ ขณะที่ทำขนมกันไป พระสงฆ์ก็ฉันไปพร้อม ๆ กัน จะหยุดปรุงขนมก็ต่อเมื่อเครื่องปรุงที่เตรียมมาหมด เมื่อพระสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ชาวบ้านจึงร่วมกันรับประทานกันอย่างสนุกสนาน หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ก็สวดให้ศีลให้พรแก่ผู้ที่มาทำบุญเป็นอันเสร็จพิธี
สาระ
ประเพณีให้ทานไฟมีสาระสำคัญที่มีคุณค่าแก่ตนเองและสังคม ดังนี้
๑. เป็นโอกาสหนึ่งที่ได้นัดหมายพร้อมกันในตอนเช้ามืด เพื่อร่วมทำบุญเลี้ยงพระ รวมทั้งร่วมรับประทานอาหารกัน เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะได้ดียิ่ง
๒. ทำให้มีสุขภาพพลานามัยดี แข็งแรง เพราะการตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ทำให้มีความสดชื่นเบิกบาน
๓. การได้ปฏิบัติตามประเพณี ย่อมทำให้เกิดความสุขใจ เบิกบานใจในผลบุญที่ตนได้กระทำ อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานของตนด้วย
ขอขอบคุณที่มา http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0677