ประวัติของกาทั้ง 4 โดยสังเขป
ตอนนี้จะพรรณนาถึงเหตุการณ์ที่มีกาทั้ง
4 เท่าที่ได้พบในที่ต่างๆ พอได้สดับสติปัญญาของผู้ที่สนใจในเรื่องกา ว่ามีเหตุผลเป็นมาอย่างไรที่ได้เรียกว่ากา
เดิมทีเดียว พระมหากษัตริย์เจ้ากรุงลังกา ได้รับสองพระกุมารกุมารีไว้ คือ
พระเจ้าธนกุมารและพระเหมชลากุมารีไว้ในคราวนำพระทันต์ธาตุของพระศาสดาเข้าไปถวาย
พระองค์ทรงรับทั้งสองกุมารและทันต์ธาตุไว้นาต่อมาพระองค์ให้สองพระกุมารเศกสมรสกันแล้วส่งสองพระกุมารมากรุงธน เมืองไทย
รวมความว่า พระเจ้าธนกุมาร พระเจ้าเหมชลา
ได้นำพระทนต์ธาตุถึงเมืองไทย
ลงจากนาวาพร้อมด้วยพหลพลโยธาและพระราชครูโหราธิบดี พักรอเวลาพอสมควรแล้ว
สำรวจตรวจที่หาที่ชัยภูมิที่จะก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา แล้วเอากระสาปเขียนเป็นรูปภาพ บอกลางสังหรณ์เป็นกาทั้ง 4
กานั้นมีปากเป็นฆ้อน
ผู้ใดรื้อถอนพระบรมธาตุ
กาทั้ง 4 รุมกันจิกตีต้องหนีไป
ชีพราหมณ์ราชครูผูกเป็นคู่ปรปักรักษาพระบรมธาตุเรียกว่า ภาพยนต์
เหมือนเครื่องยนต์กลไก
ไม่มีหัวใจไครฆ่าไม่ตาย
มอบเสร็จเด็จขาดให้เฝ้าพระบรมธาตุ
ผู้ใดใจกล้ามาทำอันตรายพระบรมธาตุ
กานั้นตีตาย ดังนี้เป็นต้น ต่อจากนั้นมาสันนิฐานว่าพระศรีธรรมโศกราช
สร้างเจดีย์ใหญ่ครอบเจดีย์เล็กที่พระเจ้าธนกุมารและพระเจ้าเหมชลาสร้างเล็กไว้ก่อน
เมื่อขุดดูพบกาภาพยนตร์นั้นแล้วไม่กล้าขุดต่อไปอีก จึงได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ครอบไว้ ต่อจากนั้นจึงถือเอานิมิตคือ
กาภาพยนตร์มาเป็นคณะสงฆ์ขึ้นเป็นคณะหนึ่งให้นามชื่อว่ากา เพราะจะได้ดูแลรักษาพระบรมธาตุ
และปกครองคณะสงฆ์ไปตามทิศทั้ง 4 และมีชื่อว่า
สมเด็จพระราชาคณะลังกาแก้ว
เป็นต้น
เพราพระบรมธาตุที่ได้ก่อสร้างขึ้นนั้น
คือ สืบเนื่องมาจากสมเด็จพระเจ้าลังกาเป็นผู้ทรงพระราชทานพระทนต์ธาตุให้สองพระกุมารมาสร้างและมีชื่อเพิ่มเข้าอีกตรงกลางว่า พระราชาคณะ เข้าใจว่าเป็นพระราชาคณะใหญ่ รวมเข้าเป็น
สมเด็จพระราชาลังกาแก้ว เป็นต้น
เพราะเป็นคณะใหญ่ในการปกครองคณะสงฆ์และดูแลพระบรมธาตุไปตามทิศของกาทั้ง 4
เดิมทีเดียวพระครูทั้ง 4 รูปนั้นมีสมณศักดิ์สูงทั้ง 4
กา มีชื่อเรียกว่า
สมเด็จพระราชาคณะลังกาแก้ว
ปกครองคณะสงฆ์และดูแลพระบรมธาตุในทิศตะวันออก มีวัดในคณะปกครอง 183 วัด
สมเด็จพระราชาคณะลังกาชาด
ปกครองคณะสงฆ์และดูแลพระบรมธาตุในทิศตะวันตก มีวัดในคณะปกครอง 40 วัด
สมเด็จพระราชาคณะลังกาเดิม
ปกครองคณะสงฆ์และดูแลพระบรมธาตุในทิศเหนือ
มีวัดในคณะปกครอง 23 วัด
สมเด็จพระราชาคณะลังการาม
ปกครองคณะสงฆ์และดูแลพระบรมธาตุในทิศใต้
มีวัดในคณะปกครอง 90 วัด
ต่อมาในสมัยท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี ( ม่วง
รตนธโช ) วัดท่าโพธิ์
ตามสำเนารายงานตรวจการศึกษา
ครั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช
เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระศิริธรรมมุนี รายงานตรวจการศึกษาและคณะเมืองนครศรีธรรมราชว่า เมืองนครศรีธรรมราชพระครูเหมเจติยานุรักษ์ เป็นเจ้าคณะเมืองมีฐานา 5
ปกครองทั่วไปในคณะรองทั้ง 4 คือ
พระครูกาชาด 1 พระครูกาเดิม 1
พระครูการาม 1 พระสมุห์สีแทนที่พระครูกาแก้ว 1
มีฐานาละ 3 ปกครองแขวงดังนี้ ในสมัยนั้น
พระครูกาทั้ง 4 เทียบในสมัยต่อลงมาเท่ากับคณะแขวง เพราะตั้งฐานานุกรมได้ 3
รูป คือ 1 พระปลัด
2 พระสมุห์ 3 พระใบฎีกา และได้ความว่า
สมเด็จพระราชาคณะลังกาแก้ว
สมเด็จพระราชาคณะลังกาชาด
สมเด็จพระราชาคณะลังการาม
สมเด็จพระราชาคณะลังกาเดิม ทั้ง 4
นั้นหายไปเสียเมื่อคราวคณะสงฆ์
ได้แต่งตั้งพระครูเหมเจติยานุรักษ์
เป็นเจ้าคณะเมืองปกครองทั่วไป
ในคณะรองทั้ง 4
เรื่องนี้เป็นทางสันนิษฐาน เจ้าคณะรองทั้ง 4
มีนามเหลืออยู่แต่เพียงว่า
พระครูกาแก้ว พระครูกาชาด พระครูกาเดิม
พระครูการาม
หมายความว่าเจ้าคณะรองทั้ง 4 ขึ้นอยู่ในปกครองของพระครูเหมเจติยานุรักษ์ แต่มีหน้าที่ปกครองคณะแขวงไปตามทิศนั้นๆ ดังนี้เป็นต้น
แต่ในสมัยปัจจุบันนี้พระครูทั้ง
4 รูป ยังคงมีอยู่
แต่ลดสมณศักดิ์ต่ำลงเพียงพระครูชั้นตรี
ต่อนี้ไปจะเขียนเรื่องกาทั้ง 4
รูป
เพื่อจะได้รับทราบแต่ละกาว่ามีมาแล้วเท่าไร แต่ขอให้ท่านผู้อ่าน ผู้รู้เห็น
ผู้จำได้ เรื่องกาทั้ง 4 ให้อภัยด้วย
ข้าพเจ้าเขียนเอาตามที่ได้รับรู้มาจากท่านผู้อื่นจำชื่อได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง
พระครูกาแก้ว (เท่าที่พอทราบ)
1. ท่านพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก
2.
ท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) วัดหน้าราหู บิดาท่านพระครูสุนทร
วัดดินดอน ท่านเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะพระบรมธาตุร่วมกับท่านปาน
3.
ท่านพระครูกาแก้ว ( หมุ่น อิสฺสโร ) วัดหน้าพระบรมธาตุ (รวมวัดหน้าราหู วัดประตูลักษณ์
วัดหน้าพระบรมธาตุเข้าด้วยกัน)
4.
ท่านพระครูกาแก้ว ( เดิมชื่อแก้ว เป็นชาวจังหูน ต้นตระกูลมณีโลก ( พ.ศ.2442-244 ) วัดสวนปาน
5. ท่านพระครูกาแก้ว ( หมุ่น ปุณฺณรโส )
วัดหน้าพระบรมธาตุ
6. ท่านพระครูกาแก้ว ( พุฒ ) วัดชะเมา
7. ท่านพระครูกาแก้ว วัดใหญ่ชัยมงคล
8. ท่านพระครูกาแก้ว วัดหน้าพระลาน
รูปปัจจุบัน
พระครูการาม
1. ท่านพระครูการาม ( เกื้อ ) วัดธาราวดี
( วัดไฟไหม้ )
2. ท่านพระครูการาม ( จู ) เปรียญ 4
ประโยค วัดมเหยงคณ์
3. ท่านพระครูการาม ( ดี ) วัดหน้าพระลาน
4. ท่านพระครูการม ( นาค ) วัดหน้าพระลาน
5. ท่านพระครูการาม วัดท่าช้าง ต. นาพรุ
อ. พระพรหม จ. นครศรีฯ
พระครูกาชาด
1. ท่านพระครูกาชาด ( บัวทอง
) วัดประตูขาว
2.
ท่านพระครูกาชาด วัดประตูเขียน
( รวมกับวัดชะเมาปัจจุบัน )
3. ท่านพระครูกาชาด ( ขาว ) วัดชะเมา
4. ท่านพระครูกาชาด ( ย่อง ) วัดวังตะวันตก
5. ท่านพระครูกาชาด วัดพระนคร
ผู้จัดการโรงเรียนราษฎรผดุงวิทยา
6. ท่านพระครูกาชาด ( แก้ว ) วัดใหญ่
7. ท่านพระครูกาชาด ( ดำ ) วัดท้าวโคตร
8. ท่านพระครูกาชาด ( จัด ) วัดสระเรียง
9. ท่านพระครูกาชาด ( เนียม ) วัดชลเฉนียน
10. ท่านพระครูกาชาด ( เจียม ) วัดหน้าพระบรมธาตุ
รูปปัจจุบัน
พระครูกาเดิม
1.ท่านพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง
2. ท่านพระครูกาเดิม ( ปุ่น ) วัดท่าโพธิ์
3. ท่านพระครูกาเดิม ( หนู )
วัดจันทาราม
4. ท่านพระครูกาเดิม ( รักษ์ ) วัดบูรณาราม
5. ท่านพระครูกาเดิม ( ทอง ) วัดจันทาราม
6. ท่านพระครูกาเดิม ( เกตุ ) วัดบูรณาราม
7. ท่านพระครูกาเดิม ( คลิ้ง ) วัดจันทาราม
8. ท่านพระครูกาเดิม (เปรียม) วัดบางสะพาน
ที่มา : หนังสือ
“ประวัติ และ จริยา ของ พระครูการาม (ดี สุวณฺณเถร)”
จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูการาม (ดี
สุวณฺณเถร)
ณ เมรุวัดหน้าพระลาน 27 เมษายน 2515.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น