....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

21 พ.ค. 2554

ประวัติวัดหน้าพระบรมธาตุและประวัติอดีตเจ้าอาวาส



วัดหน้าพระบรมธาตุ
วัดหน้าพระบรมธาตุ อยู่ติดถนนราชดำเนิน ตรงกันกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของ จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ 1800 โดยมีเจ้าอาวาสที่พอทราบได้ คือ
1. พระครูกาแก้ว (บุญศรี)
2. พระศรีธรรมราชมุนี (หมุ่น อิสฺสโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช.
3. พระธรรมนาถมุนี (ใส ถาวโร) อดีตผู้ช่วยเจ้าคณะภาค ๑๖.
4. พระครูวิมลนวการ (เผ้ง ทิฏฺฐธมฺโม นามสกุล กาฬกาญจน์)
5. พระปริยัติวโรปการ (หมุ่น ปุณฺณรโส)) เปรียญ ๖ ประโยค
6. พระครูกาชาด (เจียม กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ในหนังสือตำนานพระธาตุ เขียนไว้ว่า รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ วั ดหน้าพระบรมธาตุ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2441 เพื่อทอดพระเนตรที่พักพระครูเทพมุนี (ปาน) ต่อมาเมื่อปี 2520 สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จวัดหน้าพระบรมธาตุ เพื่อทรงสรงน้ำศพ พระครูวิมลนวการ ความสำคัญของวัดหน้าพระบรมธาตุ อยู่ที่การเรียนภาษาบาลี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2467 พระศรีธรรมราชมุนี (หมุ่น) เปิดโรงเรียนสอนภาษาบาลีขึ้นเป็นแห่งแรกในปักษ์ใต้ที่วัดนี้ จนถึงปี 2470 ได้ผลิตมหาเปรียญชาวปักษ์ใต้ได้สำเร็จ 3 รูป แล้วผลิตต่อเรื่อยมาอีกจนได้หลายร้อยรูป

เปรียญ 3 รูปแรก ของวัดหน้าพระบรมธาตุ คือ พระมหาหมุ่น พระมหาวรรณ และสามเณรชื่น ทั้งสามท่านสอบจนได้ 6 ประโยค พระมหาวรรณ ลาสิกขาไปเป็นครู จนได้เลื่อนชั้นขึ้นเป็นครูใหญ่ พระมหาชื่น ลาสิกขา รับราชการจนเป็น นายอำเภอ ภายหลังเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ส่วนพระมหาหมุ่น ภายหลังได้ขึ้นเป็น พระครูกาแก้ว แล้วได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระปริยัติวโรปการ เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ
ปัจจุบันมี พระครูกาชาด (เจียม กิตฺติสาโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ และมี พระครูอดิสัยธรรมศาสก์ (ชอบ อติเมโธ) เป็นรองเจ้าอาวาส
พระครูกาแก้ว (บุญศรี)                   
             ท่านเป็นชาวชัน  ตำบลกำแพงเซา  อำเภอเมือง  โยมพ่อของท่านชื่อหมื่นเดช ก่อนบวช ท่านมีครอบครัวมาก่อน ภรรยาชื่อนางแดงพุ่ม  มีลูก 3 คน คือ นายนาค  นายเงินและนางสุข
               นายศรี ได้เดินทางมาซื้อวัวควายแถวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นประจำ ได้เกิดความเลื่อมใสต่อเจ้าอาวาสวัดบางกล้วย จึงศรัทธาขอบวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาที่วัดบางกล้วย ได้ 3 พรรษาจึงมาจำพรรษาที่วัดสระเรียง พระศรีมีความซาบซึ้งในรสพระธรรมก็มิได้คิดจะลาสิกขาอีก จึงได้บวชและศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป จนมีความรอบรู้ในพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยพอสมควร ต่อมาชาวบ้านจึงได้อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าราหู  อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
                ไม่นานพระศรีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ศรี ฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก เมื่อถึง ปี พ.ศ. 2436 พระสมุห์ศรีได้เดินทางเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพ
               เมื่อถึงกรุงเทพฯ แล้วพระสมุห์ศรีได้จำพรรษาและเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระสมุห์ศรีเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ อยู่ได้ 4 ปี ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร     จึงเดินทางกลับนครศรีธรรมราช เมื่อพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออกได้ถึงแก่มรณภาพ พระสมุห์ศรีจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว
                 ต่อมาในปี 2458 พระใบฏีกาหมุ่น วัดหน้าพระลาน ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว (ศรี) ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุ(ตอนนั้นท่านพระครูกาแก้ว (ศรี)ได้เริ่มบุรณะวัดหน้าพระบรมธาตุแล้ว)เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของพระครูกา แก้ว (ศรี) ซึ่งชราภาพ พ.ศ. 2459 ได้รวมวัดหน้าราหู  วัดประตูลักษณ์  และวัดหน้าพระบรมธาตุเข้าเป็นวัดเดียวกัน  รวมเรียกว่าวัดหน้าพระบรมธาตุมาตั้งแต่ครั้งนั้น       ซึ่งปีเดียวกับที่พระครูกาแก้ว (ศรี) มรณภาพ    ขณะที่มีอายุได้ 70 ปี
                  เสร็จจากงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระใบฏีกาหมุ่นได้รับแต่งตั้งเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระญาณเวที (ลือ) วัดพระเดิม พระสงฆ์ในวัดหน้าพระบรมธาตุรวมทั้งพระครูสุนทรดิตถคณีจึงได้พร้อมใจกันนิมนต์พระปลัดหมุ่นเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ สืบต่อมา

                  หมายเหตุ.. ท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรีหรือสี)  1 มกราคม 2450 ได้เป็นผู้ร่วมสร้างพระพุทธบาทจำลองที่มณฑปบนยอดเขาจำลองในวัดพระบรมธาตุ ร่วมกับพระศิริธรรมมุนี (ม่วง  ต่อมาคือพระรัตนธัชมุนี  วัดท่าโพธิ์)และพระยาตรังภูมาภิบาล (ถนอม บุณยเกตุ  ต่อมาคือ  พระยารณชัยชาญยุทธ) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช


พระศรีธรรมราชมุนี (หมุ่น อิสฺสโร)อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชาติภูมิ
นามเดิม หมุ่น ชูสังข์ มารดาชื่อ ชุม บิดาชื่อ ชู เกิดวันอาทิตย์ 23 เดือนเมษายน พ.ศ. 2425 (เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ) ณ บ้านสามดอน ตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านเป็นบุตรคนหัวปี มีน้องร่วมท้อง 5 คน คือ 1.พระแดง ธมฺมปาโล 2.นายวงศ์ ชูสังข์ 3. นางคง เพ็ชรรัตน์ 4.นายพุ่ม ชูสังข์ 5.นายแก้ว ชูสังข์
ครั้งเจริญวัย บิดามารดานำไปถวายเป็นศิษย์พระเดชพระคุณพระรัตนธัชมุนี วัดท่าโพธิ์ เมื่อยังเป็น พระมหาม่วง รตฺนธโช เล่าเรียนหนังสือไทยได้ชั้น 4 เมื่อ พ.ศ. 2440

ท่านได้รับการบรรพชาอุปสมบท เมื่อ เวลา 4 นาฬิกา ล.ท. ตรง (16.00 น.) ของวันที่ 23มิถุนายน พ.ศ. 2445 ในนาม พระหมุ่น ฉายา อิสฺสโร ท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) วัดหน้าราหู(ชื่อเดิมของวัดหน้าพระบรมธาตุในสมัยนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุนทรดิฐคณี วัดดินดอน กิ่งอำเภอลานสกา เมื่อยังเป็นพระปลัดนาค โชติพโล และพระอาจารย์จันทร์ โกนาโค วัดหน้าราหู เป็นกรรมวาจาจารย์ บรรพชาอุปสมบท ณ อุโบสถพระวิหารหลวง วัดพระบรมธาตุ ครั้งบวชแล้วก็ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ในสำนักพระปลัดบัว วัดหน้าพระลาน และเล่าเรียนมูลกัจจายน์เบื้องต้นใน สำนักท่านพระครูกาแก้ว พระอุปัชฌาย์วัดหน้าพระบรมธาตุ

พ.ศ. 2459 ท่านได้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยรวมวัดหน้าราหู วัดประตูรักษ์ วัดหน้าพระบรมธาตุ เข้าเป็นวัดเดียวกัน รวมเรียกว่า “วัดหน้าพระบรมธาตุ” มาแต่ครั้งนั้น ซึ่งเป็นปีที่พระครูกาแก้ว(บุญศรี) มรณภาพลง พ.ศ. 2460 ท่านได้รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะหมวดพระเสื้อเมือง (ตำบลในเมือง) พ.ศ. 2461 เสร็จการถวายเพลิงศพพระครูกาแก้ว(บุญศรี)แล้ว ได้รับตราตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ

พ.ศ.2467 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูกาแก้ว ( หมุ่น อิสฺสโร )” ต่อมาท่านได้รับพระราชทาน เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ “พระปริยัติวโรปการ” มีตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัด เมื่อตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดว่างลง ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัด และ เปลี่ยนชื่อสมณศักดิ์เป็นที่ “พระศรีธรรมราชมุนี ปริยัติธรรมวาทีสังฆปาโมกข์” ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงมรณภาพ ใน วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2498 รวมอายุ 73 ปี 4 เดือน 12 วัน และได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อ พ.ศ.2499

ประวัติย่อพระเดชพระคุณ พระศรีธรรมราชมุนี
อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ
อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช

 เกิดวันอาทิตย์ ที่ ๒๓ เมษายน เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๕
 เรียนหนังสือไทยได้ชั้น ๔ อย่างเก่า วัดท่าโพธิ์ พ.ศ. ๒๔๔o
 บรรพชาอุปสมบท วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕
 ดำริตั้งสำนักเรียนส่งศิษย์เข้าศึกษากรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๕๕
 รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ พ.ศ.๒๔๕๙
 รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะหมวด พ.ศ.๒๔๕๙
 เป็นเจ้าคณะหมวด พระเสื้อเมือง พ.ศ. ๒๔๖๐
 เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ และพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๔๖๑
 จัดตั้งโรงเรียนชั้นตรีในวิหารธรรมศาลา พ.ศ.๒๔๖๒
 เป็นพระปลัดฐานานุกรม พระญาณเวที เจ้าคณะจังหวัด พ.ศ.๒๔๖๔
 ย้ายโรงเรียนนักธรรมชั้นตรีเข้าสอบวัดหน้าพระบรมธาตุ พ.ศ.๒๔๖๔
 จัดตั้งสำนักเรียนบาลี พ.ศ.๒๔๖๗
 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูกาแก้ว พ.ศ.๒๔๖๗
 เปิดโรงเรียนนักธรรมชั้นโท พ.ศ.๒๔๖๙
 นักเรียนของสำนักเรียนเข้าสอบเปรียญครั้งแรก พ.ศ.๒๔๗๐
 เปิดสอนนักธรรมชั้นเอก พ.ศ.๒๔๗๑
 เป็นเจ้าคณะแขวงและพระอนุศาสนาจารย์อำเภอร่อนพิบูลย์ พ.ศ.๒๔๗๒
 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง พ.ศ.๒๔๘๓
 เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๖
 เป็นพระราชาคณะที่ พระปริยัติวโรปการ เจ้าสำนักเรียน พ.ศ. ๒๔๙o
 รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๔๙๔
 เปลี่ยนพระราชทินนาม เป็น พระศรีธรรมราชมุนี พ.ศ. ๒๔๙๕
 มรณภาพวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
 พระราชทานเพลิงศพ พ.ศ.๒๔๙๙




พระธรรมนาถมุนี (ใส ถาวโร)
ชาติภูมินามเดิม ใส ดุลยกุล เป็นบุตรนายนุ่น-นางจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2436 ตรงกับวันพุธ แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง ณ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
บรรพชาอุปสมบทพ.ศ. 2453 บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสระโพธิ์ ตำบลเสือหึง อำเภอปากพนัง (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอเชียรใหญ่) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระอธิการใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2463 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดเก้าตำลึง ตำบลเสือหึง อำเภอปากพนัง (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอเชียรใหญ่) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระอธิการนุ่น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รุ่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษาหลังบรรพชาอุปสมบทได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ณ สำนักวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ จนสอบได้นักธรรมชั้นโท ในปี พ.ศ. 2462 และสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ในปี พ.ศ. 2465
หน้าที่การงาน
หลังจากได้ศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ครูสอนปริยัติธรรม สำนักวัดมหาธาตุอยู่ระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2467 ท่านได้เดินทางกลับนครศรีธรรมราช ปฏิบัติหน้าที่ครูสอนปริยัติธรรมสำนักวัดหน้าพระบรมธาตุ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุและเป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรม-บาลี วัดหน้าพระบรมธาตุ จนตลอดชีวิต
สมณศักดิ์พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระธรรมนาถมุนี
พ.ศ. 2498 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
บั้นปลายชีวิตท่านเจ้าคุณธรรมนาถฯ มักพูดกับศิษย์ของท่านเสมอว่า ท่านจะตายอายุประมาณ 77 ปี และเขียนติดไว้หน้าห้องในกุฏิว่า “อายุ 77 ปี เราจะตายแน่นอน และตายคนเดียวไม่มีใครเห็นใจ” เหตุการณ์ก็เป็นดังนั้นจริงๆ เพราะเมื่อท่านอายุได้ 76 ปี ก็เริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคหอบและโรคปอด ลูกศิษย์ได้นำท่านไปรักษาที่โรงพยาบาล เป็นเวลาประมาณ 1 ปี จนอาการทุเลาลงกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งท่านมีอายุได้ 77 ปีเศษ ในเวลา 08.00 น. ท่านได้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของโยมที่คุ้นเคยและมีอุปการะกันมานาน ซึ่งในวันนั้นท่านได้ให้โอวาทและสั่งสอนอย่างจับใจเป็นพิเศษ แล้วก็เป็นลมล้มพับลง เจ้าของบ้านได้นำส่งโรงพยาบาล ไปถึงโรงพยาบาลเวลาประมาณ 11.00 น. แต่ท่านก็ได้มรณภาพเสียก่อนแล้ว ซึ่งก็เป็นจริงดังที่ท่านเคยบอก คือ ไม่มีลูกศิษย์ใกล้ชิดคนใดได้เห็นใจ แม้กระทั่งหมอ


พระครูวิมลนวการ (เผ้ง ทิฏฺฐธมฺโม)
ชาติภูมิพระครูวิมลนวการ เป็นบุตรนายกลับ กาฬกาญจน์ กับ นางทองชุม (สกุลเดิม ณ นคร) เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ณ ตำบลท่าไร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่ 4
การศึกษาและการบรรพชาอุปสมบท
ในเบื้องต้นได้ศึกษาหนังสือขอมไทยจากบิดา มีความรู้ความสามารถอ่านเขียนได้คล่องตามแบบโบราณ
จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนต่อและขออุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหน้า- พระบรมธาตุ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2464 มีพระปลัดหมุ่น อิสฺสโร (ต่อมาเป็นพระครูกาแก้ว และพระศรีธรรมราชมุนี ปริยัติธรรมวาที สังฆปาโมกข์ ตามลำดับ) เจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระพลับ อิสฺสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เป็นสัทธิวิหาริกลำดับที่ 3 ของพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า “ทิฏฺฐธมฺโม” เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมชั้นโท
การทำงาน
หลังจากศึกษาจนมีความรู้พอสมควรแล้ว ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระศาสนาเป็น อันมาก ได้ไปรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปะ ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ พ.ศ. 2480-2483 แล้วกลับมารักษาการแทนเจ้าอาวาสมุมป้อม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 1 ปี จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางจาก (วัดธาราวดี พ่อท่านจบในปัจจุบัน) และได้เลื่อนเป็นพระธรรมธร ฐานานุกรมในพระศรีธรรมราชมุนี ปริยัติธรรมวาที สังฆปาโมกข์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2498 ได้รับแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่ตรวจการวัดทั่วอำเภอเมืองเป็นประจำทุกปี
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ได้สมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนาม “พระครูวิมลนวการ” และ ได้ย้ายกลับจากวัดบางจาก มาจำพรรษา ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ จากนั้นในปีพ.ศ. 2505 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2515
บั้นปลายชีวิตหลังปี พ.ศ. 2515 ได้เกิดอาพาธด้วยโรคมะเร็งหลอดเสียงอยู่หลายปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2520 ท่านได้มรณภาพอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช สิริอายุได้ 78 ปี พรรษา 57



พระปริยัติวโรปการ (หมุ่น ปุณฺณรโส)
ชาติภูมิ
เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ชาวบ้านนาโหนด ต.กำแพงเซา อ. เมือง จ.นครศรีธรรมราช เกิดในสกุล " พฤกษ์เสถียร"
บรรพชาเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ที่วัดเสมา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
อุปสมบท
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ที่วัดหน้าพระบรมธาตุ มีพระศรีธรรมราชมุนี (หมุ่น อิสฺสโร)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเทพเจติยาภิบาล(พลับ)เป็นพระคู่สวด
สมณศักดิ์พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติวโรปการ
มรณภาพ
วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๔ อายุได้ ๘๖ ปี


พระครูกาชาด (เจียม กิตฺติสาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระครูกา ผู้รักษาพระธาตุ นครศรีฯ
จากหลักฐานที่ปรากฏในตำนาน ทำให้ทราบว่า วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารใน พ.ศ. 2458 พื้นที่ใช้สอยในวัดเมื่อสมัยแรกสร้างจนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้บริเวณวัดเป็นเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และได้ตั้งเขตสังฆาวาสขึ้นรอบองค์พระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ ได้แก่
ทิศเหนือ มีวัดพระเดิม วัดมังคุด และวัดโรงช้าง
ทิศใต้ มีวัดหน้าพระลาน วัดโคกธาตุ วัดท้าวโคตร วัดศพ วัดไฟไหม้
และวัดชายนา
ทิศตะวันออก มีวัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ วัดสระเรียง วัดหน้าพระบรมธาตุ และ
วัดหน้าราหู
ทิศตะวันตก มีวัดพระนคร วัดแม่ชี และวัดชลเฉนียน

ในปัจจุบัน วัดต่างๆ ที่อยู่รอบองค์พระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ วัดโรงช้าง วัดดิ่งดง วัดธรรมาวดี วัดสิงห์ และวัดแม่ชี กลายเป็นวัดร้าง ส่วนวัดพระเดิมและวัดมังคุดรวมเป็นวัดเดียวกับวัดพระมหาธาตุฯ วัดศพและวัดไฟไหม้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดท้าวโคตร สำหรับวัดราหูได้รวมกับวัดหน้าพระธาตุ
ในส่วนของพระสงฆ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลองค์พระบรมธาตุ มีจำนวน ๔ คณะ แต่ละคณะจะรับผิดชอบประจำอยู่ในทิศต่างๆ คือ
คณะกาเดิม อยู่ทิศเหนือ
คณะการาม อยู่ทิศใต้
คณะกาแก้ว อยู่ทิศตะวันออก
คณะกาชาด อยู่ตะวันตก

จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดให้ตั้งพระสงฆ์คณะต่างๆ มีตำแหน่งเป็นพระครู โดยมีพระครูเหมเจติยานุรักษ์เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้ช่วยอีก 4 รูป คือ พระครูกาเดิม พระครูการาม พระครูกาแก้ว และพระครูกาชาด ตำแหน่งพระครูทั้ง 4 นี้ยังคงจำพรรษาอยู่ในวัดเดิมของตนตามทิศทั้ง 4 มีหน้าที่ดูแลพระบรมธาตุร่วมกัน ใน พ.ศ. 2458 รัชกาลที่ 6 โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ เมื่อครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ นิมนต์พระสงฆ์จากวัดเพชรจริกซึ่งมีพระครูวินัยธร (นุ่น) เป็นหัวหน้าสงฆ์จำพรรษาดูแลวัด และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

เจ้าคณะทั้งสี่นั้นหมายถึงเจ้าคณะทั้งสี่กา ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรักษาพระบรมธาตุทั้งสี่ทิศ และดูแลคณะสงฆ์ข้างนอกตามทิศที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล และในช่วงปี พ.ศ.2504 ช่วงนั้นพระบรมธาตุยังรกร้างอยู่ ซึ่งเจ้าคณะทั้งสี่ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ร.6 แต่เป็นเจ้าคณะทั้งสี่กา ที่คณะสงฆ์ของนครศรีธรรมราชเป็นผู้คัดสรรขึ้น ตามที่มีมาแต่โบราณกาลเมื่อท่านพระครูกาแก้วแห่งวัดสวนหลวงออกสิ้นบุญ พระสมุห์บุญศรี เจ้าอาวาสวัดหน้าราหู ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว (บุญศรี) ท่านเป็นบิดาท่านพระครูสุนทร และท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ของท่านพระครูกาแก้ว (หมุ่น อิสฺสโร)พระครูกาแก้ว (บุญศรี) สิ้นบุญปี พ.ศ.2460

ในปี พ.ศ.2467 หลังจากท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) สิ้นบุญ พระหมุ่น อิสฺสโร ซึ่งเป็นปลัดในฐานานุกรมพระญาณเวทีเจ้าคณะจังหวัด วัดพระเดิม ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูกาแก้วต่อซึ่งการแต่งตั้งพระครูกาทั้งสี่นั้นเป็นตำแหน่งทำเนียบสงฆ์พระครูกาทั้งสี่ของเมืองนคร ซึ่งเป็นกรรมการรักษาองค์พระบรมธาตุสืบมาแต่โบราณ และมีท้องที่ปกครองสงฆ์แบ่งทิศกัน แยกตามฐานะ ด้วยวัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัยของชาวนครฯและชาวใต้ ในสมัยก่อนจะเป็นเขตพุทธาวาส พระอารามหลวงไม่มีพระสงฆ์อยู่

พระครูกาแก้ว (เท่าที่พอทราบ)


1. ท่านพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก
2. ท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) วัดหน้าราหู บิดาท่านพระครูสุนทร วัดดินดอน ท่านเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะพระบรมธาตุร่วมกับท่านปาน
3. ท่านพระครูกาแก้ว(หมุ่นอิสฺสโร) วัดหน้าพระบรมธาตุ (รวมวัดหน้าราหู วัดประตูลักษณ์ วัดหน้าพระบรมธาตุเข้าด้วยกัน)
4. ท่านพระครูกาแก้ว ( เดิมชื่อแก้ว เป็นชาวจังหูน ต้นตระกูลมณีโลก                              พ.ศ.2442-244   วัดสวนปาน)
5. ท่านพระครูกาแก้ว (พุฒ วัดชะเมา)
6. ท่านพระครูกาแก้ว วัดใหญ่ชัยมงคล
7. ท่านพระครูกาแก้ว (หมุ่นปุณฺณรโส) วัดหน้าพระบรมธาตุ
8. ท่านพระครูกาแก้ว วัดหน้าพระลาน รูปปัจจุบัน

พระครูการาม

1.ท่านพระครูการาม (ดี) วัดหน้าพระลาน
2.ท่านพระครูการม (นาค) วัดหน้าพระลาน
3.ทานพระครูการาม(จู) เปรียญ 4 ประโยค วัดมเหยงคณ์
4.ท่านพระครูการาม (เกื้อ) วัดธาราวดี (วัดไฟไหม้)
5.ท่านพระครูการาม   วัดท่าช้าง  ต. นาพรุ  อ. พระพรหม จ. นครศรีฯ

พระครูกาชาด

1.ท่านพระครูกาชาด (ดำ) วัดท้าวโคตร
2.ท่านพระครูกาชาด  วัดประตูเขียน (รวมกับวัดชะเมาปัจจุบัน)
3.ท่านพระครูกาชาด (ขาว) วัดชะเมา
4.ท่านพระครูกาชาด (ย่อง) วัดวังตะวันตก
5.ท่านพระครูกาชาด วัดพระนคร ผู้จัดการโรงเรียนราษฎรผดุงวิทยา
6.ท่านพระครูกาชาด (แก้ว) วัดใหญ่
7.ท่านพระครูกาชาด (จัด) วัดสระเรียง
8.ท่านพระครูกาชาด (เนียม )  วัดชลเฉนียน
9.ท่านพระครูกาชาด (เจียม) วัดหน้าพระบรมธาตุ รูปปัจจุบัน
พระครูกาเดิม
1.ท่านพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง (อาจารย์หลวงพ่อทวด วัดช้างให้)
2.ท่านพระครูกาเดิม (ทอง) วัดจันทาราม
3.ท่านพระครูกาเดิม (คลิ้ง) วัดจันทาราม
4.ท่านพระครูกาเดิม (รักษ์) วัดบูรณาราม
5.ท่านพระครูกาเดิม (เกตุ) วัดบูรณาราม
6.ท่านพระครูกาเดิม  (หนู ) วัดจันทาราม
7.ท่านพระครูกาเดิม (ปุ่น)  วัดท่าโพธิ์
8.ท่านพระครูกาเดิม วัดบางสะพาน

(ไครมีข้อมูลมากกว่านี้... ก็ช่วยเพิ่มเติมด้วย ส่งข้อมูลมาที่ kim2552@hotmail.com จะเป็นพระคุณอย่างมาก ต้องการจะรวมรวมประวัติพระครูกาทุกรูป)

 ......อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......ไม่สงวนลิกขสิทธิ์.....


17 พ.ค. 2554

เทศน์ทำขวัญนาค พระปลัดธีรเดช part 1/14

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 4 (1/1)

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 2 (3/5)

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 2 (1/5)

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 1 (2/2)

พระเวสสันดร กัณฑ์ที่ 1 (1/2)

วีดีโอ : สารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"12-17

วีดีโอ : สารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"8-11

วีดีโอ : สารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"1-7


วีดีโอ : สารคดีแห่งศตวรรษ "ตามรอยพระพุทธเจ้า"
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ปรัชญาทางศาสนาพุทธ คือรากฐานของวิทยาศาสตร์ ในยุคปัจจุบันทำไมเขาจึงกล่าวเช่นนั้น
กว่า 2500 ปีก่อน เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบอะไร ทำไมสิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบ จึงเปลี่ยนแปลงความเชื่ออย่างขนานใหญ่ ให้กับคนในยุคนั้น ยุคที่เต็มไปด้วยความเชื่อเรื่องเทพเเจ้าและอิทธิฤิทธิ์ปาฎิหารย์ และ ทำไมศาสนาพุทธจึงสูญหายไปจากอินเดีย ดินแดนที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดแล้วปัจจุบันหล่ะ ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดียจริงหรือหรือยังคงเหลือ อะไรบางอย่างไว้
ตามรอยพระพุทธเจ้า สารคดีความยาว 12 ชั่วโมง กับการเดินทางอันยาวนาน เพื่อค้นหาความจริงอันยิ่งใหญ่ ที่เคยฝังตัวอยู่ใต้แผ่นดินของอินเดียมานานกว่า 700 ปี เรื่องราวของศาสดาเอกองค์หนึ่งของโลก ผู้มีปรัชญายึดหลักทางสายกลาง
ตามรอยพระพุทธเจ้า จะพาผู้ชมย้อนเวลากลับไปในอดีต ครั้งสมัยก่อนพุทธกาล เพื่อเรียนรู้สภาพสังคม และความเชื่อในดินแดนชมพูทวีป ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อครั้งใหญ่ ความรุ่งเรืองและมั่นคงอย่างถึงขีดสุด ของศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาล ความล่มสลายและสูญสิ้นไปจากแผ่นดินเกิดอย่างสิ้นเชิง ในสมัยหลังพุทธกาล
อะไร เป็นสาเหตุความเสื่อมสลายในครั้งนั้น ความแตกต่างทางความเชื่อของศาสนาพุทธ แต่ละนิกายเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมชาวอินเดีย จึงยังคงรักษาความเชื่อในศาสนาฮินดูเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น
ตามรอยพระพุทธเจ้า สารคดีที่จะเปิดเผยเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาอย่างลึกถึงแก่น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดีและมานุษยวิทยาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งศตวรรษ

ขอขอบคุณ บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด

บารมี 30 ทัศ ครูบาเจ้าศรีวิชัย

ธัมจักกัปปวัตตนสูตร

กาลามสูตรตอนที่ 1

มหาสติปัฏฐาน ตอนที่ 1

อนัตตลักขณสูตร ตอนที่ 1/1

สวดชัยยะมงคลคาถา บทสวดชัยน้อย.flv

25530131-RLG-กรณียเมตตสูตร.avi

โพชฌงคปริตร

คำไหว้พระเจ้าสิบชาติ #1

บารมี10ทัศ

16 พ.ค. 2554

อสุภะ กรรมฐาน 1 ผ่าศพ ระบบกล้ามเนื้อ

สังขาร ปลงสังขาร

เพลง คาถาชินบัญชร 1/2

บทสวด 4 บทสวดมนต์พาหุงฯ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ธรรมจักร์ ธัมมะจัก Drammajak Thammajak U 1-2

ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร บาลี

Wisdom and Stupidity

Gratitude For Our Teacher (1 of 4) by Ajahn Sumedho

Ajahn Sumedho (1 of 5) Dhamma talk at Amaravati 2006

พระวินัยปิฎก เล่ม 1 มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์



เรื่อง เวรัญชพราหมณ์

(1) โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โคนไม้สะเดา เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าว ทราบกิติศัพท์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ บรรลุวิชชาและจรณ เสด็จไปดี ทราบโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพุทธะ เป็นพระผู้มีพระภาค ทรงนำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา อันยิ่งของพระองค์เอง แล้วสอนหมู่สัตว์ พร้อมสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงานในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่งการเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นความดี

เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า

(2) เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ทูลปราศัยกับพระผู้มีพระภาค ฯลฯ แล้วจึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า ข้าพเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ พวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาตามลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ในโลกทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ

ว. ท่านพระโคดม มีปกติไม่ใยดี
พ. จริงเช่นนั้น เพราะความใยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดานี้แหละนี้แหละที่เขากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. พระโคดมไม่มีสมบัติ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
ว. พระโคดมกล่าวการไม่ทำ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมกล่าวการขาดสูญ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมช่างรังเกียจ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อจำกัดสภาพที่เป็นบาปกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมช่างเผาผลาญ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ซึ่งผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
ว. พระโคดมไม่ผุดเกิด
พ. จริงเช่นนั้น เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ

ทรงอุปมาด้วยลูกไก่

(3) ดูกร พราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไข่หลายฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว ลูกไก่ตัวใด ทำลายฟองไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง
ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา

ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม

พ. เราก็เหมือนอย่างนั้น เมื่อประชาชนตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายฟองคือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ปฐมฌาน เรานั้นแลสงัดแล้วจากกาม จากอกุศลกรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ* ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปิติและสุข ซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่

ตติฌาน เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป ได้บรรลุตติยญาณ ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติมีสุขอยู่

จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้วได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เเป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง...แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขอย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นแล้ว ได้เกิดมาในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ วิชชาที่หนึ่งนี้เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดส่งจิตไปแล้ว ฉะนี้ ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เเป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

จุตูปปาตญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ดังนั้น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตใจเพื่อญาณเครื่องรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ หมู่สัตว์ที่เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผุ้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการฉะนี้ วิชชาสองนี้ เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สองเรานี้ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

อาสวักขยญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้

ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เป็นเหตุได้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี วิชชาสามนี้ เราได้บรรลุในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้ ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก

(4) เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูลว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ไพเราะนัก ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นพราหมณ์ทราบแล้ว ได้ลุกจากที่นั่งกราบบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไป

เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย

(5) สมัยนั้น เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะ ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุ รูปละแล่งไว้ที่คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตรในเมือง เมื่อไม่ได้บิณฑบาตร จึงเที่ยวไปบิณฑบาตรที่คอกม้า รับข้าวแดงรูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวแดงแล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยพระกระยาหารนั้น และได้สดับเสียงครกอยู่

พระพุทธประเพณี

พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถามก็มี พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระองค์ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่างคือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอีกอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น พระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่านั่นเสียงครกหรือหนอ พระอานนท์จึงทราบทูลให้ทรงทราบ ฯลฯ

พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท

(6) ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบบังคม แล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผุ้มีพระภาคว่า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ฯลฯ พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินใหญ่นี้ สมบูรณ์ ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดินภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร โมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่าเธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น ฯลฯ



ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่ง ให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
พ. อย่าเลย การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจักพึงได้รับผลตรงกันข้าม
ม. ขอภิกษุทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตรในอุตรกุรุทวีป
พ. ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจะทำอย่างไรกับภิกษุเหล่านั้น
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้
พ. อย่าเลย การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตรถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย

เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน

(7) ครั้งนั้น พระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ครั้น เวลาเย็นท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลความปริวิตกนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า พระศาสนาของพระผู้มี พระภาค พระนาม วิปัสสี พระนาม สิขีและพระนาม เวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ส่วนพระผู้มีพระภาค พระนาม กกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน

ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคทั้งสามดังกล่าวไม่ดำรงอยู่นาน
พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิตวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฯลฯ

ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระศาสนาของพระผู้มีประภาคทั้งสาม ดำรงอยู่นาน
พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิศดารแก่สาวกทั้งหลายอนึ่งสุตตะ ฯลฯ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามนั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก จึงดำรงพระศาสนาไว้ได้ตลอดระยะกาลนาน

ปรารภให้ทรงบัญญัติสิกขาบท

(8) ลำดับนั้น พระสารีบุตรลุกจากอาสนะ นำผ้าอุตรสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้วที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมข์แก่สาวกอันจำเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน ยับยั้งก่อน ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และอาวาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฎในหมู่สงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุห้าร้อยรูป ผู้ทรงคุณธรรมอย่างต่ำก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ผู้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า

เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์

(9) ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเรียกพระอานนท์มารับสั่งว่า พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบททั้งนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จไปสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย

เวรัญชพราหมณ์กราบบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูกร พราหมณ์เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท

เวรัญชพราหมณ์ ทูลขอให้พระองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์รับภัตตาหารเพื่อเจริญบุญกุศล และปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ตัวเขาเอง

พระองค์ทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณียภาพแล้วทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ

เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวฉันอันประณีตในนิเวศน์ตน ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่ พระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว

ขณะนั้น เป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ถึงแล้วประทับนั่งเหนือที่ประทับพร้อมภิกษุสงฆ์ เวรัญชพราหมณ์อังคาสพระภิกษุสงฆ์ อันมีพระผู้มีพระภาคเป็นประมุขด้วยขาทนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่ พระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และถวายผ้าคู่ ให้ภิกษุครองรูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมือง เวรัญชาตามพระพุทธารมย์แล้ว เสด็จไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จถึงพาราณสี ครั้นประทับอยู่ที่พาราณสีแล้ว เสด็จจาริกไปนครเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเวสาลี


จบเวรัญชกัณฑ์

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/v.htm

6. มหาลิสูตร





สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี สมัยนั้น พราหมณ์ทูตชาวโกศลรัฐ และพราหมณ์ทูตชาวมคธรัฐมากด้วยกัน พักอยู่ในเมืองเวสาลี ได้สดับข่าวว่า ..... (รายละเอียดว่าด้วยพุทธคุณ) แล้วได้เข้าไปยังกูฏาคารศาลา

เรื่องของพระนาคิตเถระ พุทธอุปัฏฐาก
สมัยนั้น พระนาคิตเถระ เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค เมื่อพวกพราหมณ์ และพวกเจ้าลิจฉวี จะขอเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่พระนาคิตเถระตอบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทับหลีกเร้นอยู่ เขาเหล่านั้นจึงนั่งคอยเข้าเฝ้าอยู่ ต่อมาสามเณรนามว่าสีหะ ได้ขอร้องพระนาคิตะ ขอให้อนุญาตให้ผู้มารอเข้าเฝ้าดังกล่าวได้เข้าเฝ้า พระนาคิตะจึงให้สามเณรสีหะไปกราบทูล สามเณรสีหะจึงเข้าไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสสั่งให้สามเณรสีหะ จัดอาสนะในร่มหลังวิหาร ให้เป็นที่เข้าเฝ้า

เจ้าโอษฐัทธลิจฉวี พร้อมบริษัทหมู่ใหญ่ ได้เข้าเฝ้าแล้ว จึงได้กราบทูลถาม ถึงการได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม แต่ไม่ได้ยินเสียงทิพย์ ดังนั้นเสียงทิพย์มีอยู่หรือไม่ ทรงตรัสตอบว่ามี

สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน

ทรงตรัสว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ และเจริญเพื่อได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ แต่มิได้เจริญเพื่อได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก

การเห็นรูปทิพย์ การฟังเสียงทิพย์

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ

เหตุแห่งการทำให้แจ้งสมาธิภาวนา

เจ้าลิจฉวีกราบทูลถามว่า ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อเหตุจะทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้น เพียงเท่านั้นหรือ

ตรัสตอบว่ามิใช่ ยังมีธรรมอื่น เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่า ประณีตกว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า เพราะสัญโยชน์ 3 หมดสิ้นไป

ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้ เพียงอีกครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสัญโยชน์ 3 หมดสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ หมดไป

ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุไปเกิดในภพสูง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น เพราะสัญโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำ 5 ประการ หมดสิ้นไป

อริยมรรคมีองค์ 8
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน

มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ มรรคนี้ปฏิปทานี้ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น

เรื่องของมัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก

ดูกร มหาลี สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ดังนั้น บรรพชิต 2 รูป คือ มัณฑิยปริพาชก และชาลิยะ เข้าไปหาเรา แล้วถามว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง เราตอบว่า ท่านจงฟัง แล้วแสดงพุทธคุณ จากนั้น แสดง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล รูปญาณ 4 วิชชา 8 วิปัสสนาญาณ จบแล้วทรงสรุปว่า ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรจะกล่าวอย่างที่ทั้งสองรูปถามหรือไม่ ทั้งสองรูปก็ยอมรับว่า จะไม่ถามเช่นนั้น

พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวียินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

จบ มหาลิสูตร ที่ 6

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s5.htm

7. ชาลิยสูตร
ป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากมหาลิสูตร ในตอนท้ายที่ว่าด้วยเรื่องมัณฑิยปริพาชก และชาลิยปริพาชก ที่พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ที่โฆสิตาราม แล้วถามปัญหาเดียวกัน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพุทธคุณ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล รูปฌาณ 4 วิชชา 8 และวิสัปสสนาญาณ จบแล้ว ทรงสรุปทำนองเดียวกัน
บรรพชิตทั้ง 2 รูป ก็ยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

จบ ชาลิยสูตร ที่ 7

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s6.htm


นิทานชาดก นิทานธรรมะ นิทานคุณธรรม นิทานภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน
http://www.kalyanamitra.org/chadok/mixchadok/mixchadok.html

5. กูฏทันตสูตร






สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณ์คามของชาวมคธชื่อขานุมัตต์ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะอยู่ครองบ้านขานุมัตต์


มหายัญของกูฏทันตพราหมณ์

พราหมณ์กูฏทันตะได้เตรียมมหายัญ โคผู้ ลูกโคผู้ ลูกโคเมีย แพะ และแกะ อย่างละ 700 เพื่อบูชายัญ ชาวบ้านขานุมัตต์ได้สดับว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ เกียรติศัพย์อันงามของพระองค์ได้ขจรไปแล้วว่า


ว่าด้วยพุทธคุณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ..... เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ..... เป็นผู้จำแนกพระธรรม ..... ทรงสอนธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงฯ ชาวบ้านขานุมัตต์ พากันไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา ฯ

พราหมณ์กูฏทันตะได้คิดว่า พระสมณโคดม ทรงทราบยัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 แต่เราไม่ทราบ เราควรไปทูลถาม

บรรดาพวกพราหมณ์ในบ้านขานุมัตต์ทราบเรื่อง จึงห้ามพราหมณ์กูฏทันตะว่าไม่ควรไป เพราะจะเสียเกียรติด้วยเหตุผลหลายประการ เป็นต้นว่า เป็น อุภโตชาติ มีศีล เป็นอาจารย์และปาจารย์ของชนหมู่มาก ฯลฯ แต่กูฏทันตพราหมณ์ไม่เห็นด้วย ด้วย เหตุผลหลายประการเช่นกัน เป็นต้นว่าพระสมณโคดม เป็นอุภโตชาติ เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต มีศีลประเสริฐ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก สิ้นกามราคะแล้ว เป็นกรรมวาที และกิริยาวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์ ฯลฯ และเกียรติศัพย์อันงามของพระองค์ได้ขจรไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ..... (รายละเอียดว่าด้วยพุทธคุณ) และเพิ่มเติมอีกเป็นต้นว่า เป็นคณาจารย์ เป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พราหมณ์โปกขรสาติ พากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ฯลฯ ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบ้านของเรา จัดว่าเป็นแขกที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

พราหมณ์กูฏทันตะพร้อมคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลว่า ได้สดับมาว่า ทรงทราบยัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 ขอให้พระองค์โปรดแสดงด้วย

ว่าด้วยยัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าวิชิตราชคิดว่าจะพึงบูชามหายัญ ที่จะเป็นประโยชน์และความสุขของตนชั่วกาลนาน เมื่อทรงถามพราหมณ์ปุโรหิต ก็ได้รับคำชี้แจงว่า การปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจร ด้วยการยกภาษีอากร ด้วยการประหาร ด้วยการจองจำ ด้วยการปรับไหม ด้วยการตำหนิโทษหรือเนรเทศ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ การปราบปรามโดยชอบอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้
1. พลเมืองเหล่าใด ขะมักเขม้นในกสิกรรม และโครักขกรรม จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้
2. พลเมืองเหล่าใด ขะมักเขม้นในพาณิชยกรรม จงเพิ่มทุนให้
3. พลเมืองเหล่าใดขยัน จงให้เบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนในโอกาสอันควร

พลเมืองเหล่านั้น จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตน ไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ บ้านเมืองจะมั่งคั่ง และอยู่ในความสุข ไม่มีการเบียดเบียนกัน

พระเจ้าวิชิตราช ทำตามคำของพราหมณ์ปุโรหิต ก็ได้ผลตามที่กล่าวไว้ทุกประการ

ต่อมาพระเจ้าวิชิตราช ได้หารือกับพราหมณ์ปุโรหิตว่า ปรารถนาจะบูชามหายัญ ก็ได้รับคำแนะนำว่า อนุยนต์กษัตริย์ อำมาตย์ราชบริพาร พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าใด ขอให้เรียกมาปรึกษาว่า เราจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์สุขแก่เราชั่วกาลนาน บรรดาชนเหล่านั้น กราบทูลว่า ให้บูชายัญเถิด บรรดาชนผู้เห็นชอบทั้ง 4 เหล่านี้ จัดเป็นบริวารของยัญนั้น

พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ ทรงเป็นอุภโตชาติ ทรงเป็นบัณฑิต มีพระรูปงาม ทรงมั่งคั่ง ทรงมีกำลัง ทรงพระราชศรัทธา ทรงศึกษา ทรงสดับมาก ทรงทราบอรรถแห่งภาษิต และทรงเป็นบัณฑิต องค์ 8 ประการนี้ จัดเป็นบริวารแห่งยัญโดยแท้

พราหมณ์ปุโรหิต ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ คือ เป็นอุภโตชาติ เป็นผู้เล่าเรียน เป็นผู้มีศีล และเป็นบัณฑิต องค์ 4 ประการนี้ จัดเป็นบริวารแห่งยัญโดยแท้


ยัญญสัมปทา 3 มีบริวาร 16

พราหมณ์ปุโรหิตได้แสดงยัญวิธี 3 ประการ ถวายพระเจ้าวิชิตราชก่อนทรงบูชายัญว่า เมื่อพระองค์บูชายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า กองโภคสมบัติของเราจักหมดเปลือง กำลังหมดเปลืองอยู่ และได้หมดเปลืองไปแล้ว พระองค์ไม่ควรทำความวิปฏิสารเช่นนั้น

พราหมณ์ปุโรหิตได้กำจัดวิปฏิสาร ของพระเจ้าวิชิตราช เพราะพวกปฏิคาหก โดยอาการ 10 ประการ ก่อนบูชายัญ คือ ขอพระองค์ทรงปรารภเฉพาะพวกที่
1. งดเว้นจากปาณาติบาต
2. งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
4. งดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ
5. งดเว้นจากการกล่าวคำส่อเสียด
6. งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ
7. งดเว้นจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อ
8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
9. มีจิตไม่พยาบาท
10. เป็นสัมมาทิฐิ
แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา และทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายใน

จากนั้นพราหมณ์ปุโรหิตได้ยังพระหฤทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราช ให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง โดยอาการ 16 ประการ ซึ่งใคร ๆ จะพึงตำหนิไม่ได้

ในยัญนั้น ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคามา เพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น ฯ

แม้ชนเหล่าใด ที่เป็นทาส เป็นคนใช้ เป็นกรรมกร ของพระเจ้ามหาวิชิตราช ชนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาชญาคุกคาม มิได้ถูกภัยคุกคาม ไม่ต้องโศกเศร้า ปรารถนาจะกระทำจึงทำ ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องทำ ยัญนั้นได้สำเร็จแล้วด้วยลำพัง เนยใส น้ำมัน เนยข้น เปรียง น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น ฯ

ลำดับนั้น พวกอนุยนต์กษัตริย์ พวกอำมาตย์ พวกพราหมณ์มหาศาล พวกคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคมและชนบท ต่างพากันนำทรัพย์มากมายมาถวาย แต่พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงปฏิเสธ ชนดังกล่าวจึงชวนกันบูชายัญตามเสด็จ

ชนผู้เห็นชอบตามพระราชดำริ 4 จำพวก พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงประกอบด้วยองค์ 8 พราหมณ์ปุโรหิต ประกอบด้วยองค์ 4 รวมเป็น 3 อย่าง ทั้ง 3 ประการ รวมเรียกยัญสัมปทา 3 อย่าง มีบริวาร 16

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ต่างส่งเสียง แสดงความชื่นชม ยินดี กูฏทันตพราหมณ์ได้ทูลถามถึงคติของผู้บูชายัญครั้งนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า เขาเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และในครั้งนั้น พระองค์ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต ผู้อำนวยการบูชายัญ


ว่าด้วยพุทธยัญ นิจจทาน

กูฏทันตพราหมณ์กราบทูลถามว่า ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า ยัญดังกล่าวมีอยู่หรือ

ตรัสตอบว่ามีอยู่ คือ นิยตทาน อันเป็นอนุกูลยัญ ที่บุคคลถวายเจาะจงพวกบรรพชิตผู้มีศีล เพราะพระอรหันต์ก็ดี ท่านผู้ที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น เพราะในยัญปรากฎว่ามีการประหารด้วยอาการต่าง ๆ ส่วนนิตยทาน ไม่มีการประหาร


การสร้างวิหารแด่พระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศทั้ง 4

ยังมียัญอย่างอื่นที่ใช้ทรัพย์น้อยกว่า ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่านิตยทาน คือยัญของบุคคลที่สร้างวิหาร อุทิศพระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศทั้ง 4


สรณาคมณ์

ยังมียัญที่ให้ผลมากกว่า วิหารทาน คือ ยัญของผู้ที่มีจิตเลื่อมใสถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ


การสมาทานศีลห้า

ยังมียัญที่ให้ผลมากกว่า สรณาคมณ์ คือ การที่บุคคลเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบททั้งหลาย คืองดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐานแห่งความประมาท

ยังมียัญอย่างอื่นที่ให้ผลมากกว่า สิกขาบท ดังกล่าวคือ

พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ ..... (รายละเอียดในพุทธคุณ) ..... ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ

จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
รายละเอียดเช่นเดียวกับในพรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน
รูปฌาน 4 วิชชาแปด - วิปัสสนาญาณ
รายละเอียดเช่นเดียวกับในสามัญญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน

กูฏทันตพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว กูฏทันตพราหมณ์ได้กราบทูลว่า

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ..... พระองค์ทรงประกาศพระธรรมโดยเอนกปริยาย ข้าพเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญ ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ข้าพเจ้าได้ปล่อยโคผู้ 700 ลูกโคผู้ 700 ลูกโคเมีย 700 แพะ 700 แกะ ได้ให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้น

กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสอนุปุพพิกถา แก่พราหมณ์กูฏทันตะ คือทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า พราหมณ์กูฏทันตะ มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ ร่าเริง ใส แล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พราหมณ์กูฏทันตะ ได้ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา พราหมณ์กูฏทันตะ เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรมทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา

จบ กูฏทันตสูตร ที่ 5

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s4.htm

4. โสณทัณฑสูตร ว่าด้วยคุณของโสณทัณฑพราหมณ์


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในอังคชนบท เสด็จถึงนครจัมปา ประทับอยู่ใกล้ขอบสระโบกขรณีคัคครา
พราหมณ์โสณทัณฑะ ครองนครจัมปา ชาวนครจัมปาได้สดับข่าวพระสมณโคดม จึงพากันไปเฝ้า ว่าด้วยคุณของโสณทัณฑพราหมณ์

โสณทัณฑพราหมณ์เห็นดังนั้น ก็จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วย แต่มีพวกพราหมณ์ต่างเมืองพวกหนึ่ง คัดค้านว่าไม่ควรไป จะเสียเกียรติยศ พระสมณโคดมควรมาหา เพราะโสณทัณฑพราหมณ์เป็น อุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายบิดาและมารดาตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ เป็นคนมั่งคั่ง เป็นผู้เล่าเรียน มีศีล มีวาจาไพเราะ เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้พระเจ้าพิมพิสารทรงสักการะ

ว่าด้วยพุทธคุณ

โสณทัณฑพราหมณ์กล่าวว่า ตนควรไปเฝ้าพระสมณโคดม เพราะพระสมณโคดมเป็นอุภโตสุชาติ ตลอดชั่ว 7 บรรพบุรุษ ทรงละพระญาติหมู่ใหญ่ออกผนวช มีศีล มีวาจาไพเราะ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก สิ้นกามราคะแล้ว เป็นกรรมวาที ทรงผนวชจากสกุลสูงคือกษัตริย์ เทวดาทั้งหลายถึงพระองค์เป็นสรณะ พระเกียรติศัพท์ของพระองค์ขจรไปแล้วว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ บริษัท 4 สักการะเคารพ เทวดาและมนุษย์เลื่อมใสในพระองค์ยิ่งนัก ได้รับยกย่องว่า เป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก รุ่งเรืองพระยศด้วยวิชชาและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งโอรส มเหสี ราชบริษัท และอำมาตย์ ทรงมอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ เป็นผู้อันพราหมณ์โปกขรสาติ สักการะเคารพนับถือบูชา พระองค์ท่านมีพระคุณหาประมาณมิได้ ฯ

พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฝ่ายพราหมณ์ และคฤหบดีชาวนครจัมปา บางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่
โสณทัณฑพราหมณ์ครุ่นคิดถึงเรื่องที่จะทูลถามพระผู้มีพระภาค และคิดปราถนาจะให้พระผู้มีพระภาค
ตรัสถามในเรื่องไตรวิชา ซึ่งตนจะสามารถแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้

พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดในใจของพราหมณ์ ฯ จึงได้ตรัสถามว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไร พวกพราหมณ์จึงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์

พราหมณ์บัญญัติ

โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่า บุคคลประกอบด้วยองค์ 5 ประการ พวกพราหมณ์จึงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์
1. เป็นอุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายมารดา และบิดา ตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ
2. เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุกะ พร้อมทั้งประเภท อักษรมีคัมภีร์ อิติหาสเป็นที่ 5 เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ
3. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพรรณคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม
4. เป็นผู้ศีลยั่งยืน
5. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของพวกปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บรรดาองค์ 5 นี้ ถ้าตัดออก 1 องค์คือ องค์ที่ 1 2 องค์คือ องค์ที่ 1 และที่ 2
3 องค์คือ องค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 3 พราหมณ์โสณทัณฑะก็ยังยอมรับว่า ผู้นั้นยังคงเป็นพราหมณ์อยู่ แต่จะขาดองค์ที่ 4 และองค์ที่ 5 ไม่ได้

ว่าด้วยคุณของมานพอังคกะ

มาณพอังคกะเป็นหลานของพราหมณ์โสณทัณฑะ โสณทัณฑพราหมณ์ได้กล่าวถึงคุณสมบัติ ของอังคกมาณพว่า มีคุณสมบัติตามองค์ที่ 1, 2 และ 3 ถึงอังคกมาณพจะฆ่าสัตว์บ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้บ้าง คบหาภริยาของบุคคลอื่นบ้าง กล่าวเท็จบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ในฐานะเช่นนี้ วรรณ มนต์ ชาติ จักทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่า ผู้เป็นพราหมณ์เป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นบัณฑิตมีปัญญา เป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของปฎิคาหก ผู้รับบูชาด้วยกัน บุคคลประกอบด้วยองค์ 2 เหล่านี้ พวกพราหมณ์จะบัญญัติ ว่าเป็นพราหมณ์ก็ได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ในองค์ 2 นี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์เพียง 1 อาจจะบัญญัติให้เป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ พราหมณ์โสณทัณฑะทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้ เพราะว่าปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ และศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญา ว่าเป็นยอดในโลก

พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น แล้วตรัสถามว่า ศีล กับปัญญานั้นเป็นอย่างไร โสณทัณฑพราหมณ์ทูลตอบว่า ตนมีความรู้เพียงเท่านี้เอง ขอให้พระองค์ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพุทธพจน์แก่พราหมณ์โสณทัณฑะว่า

พระคถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระคถาคตพระองค์นั้น ฯลฯ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ฯลฯ ผู้ที่ได้ฟังธรรมนั้น ได้ศรัทธาในพระคถาคต ฯลฯ ออกบวชเป็นบรรพชิต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร ฯลฯ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ ฯ

จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล (รายละเอียดเช่นเดียวกับในพรมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
วิชชา 8 - วิปัสสนาญาณ (รายละเอียดเช่นเดียวกับในสามัญญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)

โสณทัณฑพราหมณ์

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โสทัณฑพราหมณ์ได้กราบทูลว่า

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก............ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง และจงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จบ โสณทัณณฑสูตร ที่ 4

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s3.htm

15 พ.ค. 2554

3 อัมพฏฐสูตร





สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จไปในโกศลชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึง พราหมณคาม ชื่ออิจฉานังคลคาม ทรงประทับอยู่ ณ ราวป่า อิจฉานังคลวัน
สมัยนั้น พราหมณ์โปกขรสาติิ อยู่ครองนคร อุกกัฏฐะ ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานให้
พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับข่าวและเกียรติศัพท์ อันงามของพระสมณโคดม ศากยบุตร


เรื่อง อัมพัฏฐมาณพ


อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ เป็นผู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์ต่าง ๆ และ มหาปุริสลักษณะ


พราหมณ์โปกขรสาติ บอกให้อัมพัฏฐมาณพไปเฝ้าพระสมณโคดม เพื่อให้รู้ว่าเกียรติศัพท์ของพระองค์ จริงอย่างนั้นหรือไม่ โดยดูจาก มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ


อัมพัฏฐมานพไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค แล้วปราศรัยกับพระองค์ด้วยการเดินบ้าง ยืนบ้าง ในขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ พระองค์จึงตรัสถามว่า เคยทำอาการเช่นนี้กับผู้เฒ่าผู้แก่
ผู้เป็นอาจารย์มาก่อนหรือ อัมพัฏฐมาณพก็ทูลตอบว่า ผู้เดินควรเจรจากับผู้เดิน ผู้ยืน ผู้นั่ง ผู้นอน ก็ควรจะเจรจากับผู้ที่อยู่ในอาการเดียวกัน


พระผู้มีพระภาคตำหนิอัมพัฏฐมาณพว่า เป็นคนไม่ได้รับการศึกษา อัมพัฏฐมาณพจึงใช้วาจา กล่าวข่มว่า พวกศากยะเป็นพวกคฤหบดี ยังไม่เคารพนับถือพวกพราหมณ์ ซึ่งไม่สมควรเลย เพราะตนไปยังนครกบิลพัสดุ์ ไม่มีใครเชื้อเชิญให้นั่ง และได้กล่าวข่มพวกศากยะถึงสามครั้ง


พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า มาณพผู้นี้กล่าวเหยียบย่ำพวกศากยะ จึงทรงถามถึงโครตรของมาณพ
ก็ได้รับคำตอบว่าเป็น กัณหายนโคตร จึงทรงเตือนให้ระลึกถึงโคตรเก่าแก่ของมารดาบิดาของมาณพว่า
พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกนางทาสีของพวกศากยะ เพราะพวกศากยะอ้างถึง พระเจ้าอุกกากราช
ว่าเป็นบรรพบุรุษ


ว่าด้วยศากยะวงศ์


ทรงตรัสเรื่องเดิมให้ฟังว่า พระเจ้าอุกกากราชเป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ และ นางทิสา เป็นทาสีของพระเจ้าอุกกากราช นางคลอดบุตรคนหนึ่งชื่อ กัณหะ และกัณหะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพวก กัณหายนะ ตอนแรกอัมพัฏฐมาณพไม่ยอมรับ


ในที่สุดอัมพัฏฐมาณพก็ยอมรับว่า กัณหะ เป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ บรรดามาณพที่ไปด้วยต่างพากัน เหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพ แต่พระผู้มีพระภาคทรงปลดเปลื้องให้ โดยได้ตรัสว่ากัณหะได้เป็นฤๅษีสำคัญ ได้พระราชธิดาพระเจ้าอุกกากราช พระนามมัททรูปีเป็นคู่ครอง และได้ตรัสถามอัมพัฏฐมาณพถึง การที่ขัตติยกุมารได้นางพราหมณ์กัญญาเป็นคู่ครอง และพราหมณ์กุมาร ได้นางขัตติยกัญญาเป็นคู่ครอง บุตรที่เกิดจากเขาเหล่านั้นสมควรเป็นอะไร อัมพัฏฐมาณพตอบว่า สมควรเป็นพราหมณ์ แต่ไม่สมควรเป็นกษัตริย์ เพราะไม่บริสุทธิ์ข้างฝ่ายมารดาในกรณีแรก และไม่บริสุทธิ์ฝ่ายบิดาในกรณีหลัง


พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เมื่อเทียบหญิงกับหญิง เทียบชายกับชายก็ดี กษัตริย์พวกเดียวประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว


คาถาสินังกุมารพรหม


กษัตริย์เป็นประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ สินังกุมารพรหมภาษิตไว้ถูกไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเห็นด้วยและก็กล่าวเช่นนั้น


วิชาจรณสัมปทา


อัมพัฏฐมานพทูลถามถึงเรื่อง จรณะและวิชชา


พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม เขาไม่พูดอ้างชาติ อ้างโคตรหรืออ้างมานะว่า ท่านควรแก่เราหรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใดยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การอ้างดังกล่าวชื่อว่ายังห่างไกลจาก วิชชาและจรณสมบัติ การทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและจรณสมบัติ ย่อมมีได้เพราะละการเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ อ้างโคตร อ้างมานะ และอาวาหวิวาหมงคล


พระคถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯลฯ ทรงประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ ผู้ใดผู้หนึ่งได้ฟังธรรมนั้น แล้วได้ศรัทธาในพระคถาคต ฯลฯ ออกบวชเป็นบรรพชิต ฯลฯ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล ฯลฯ


จุลศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อจุลศีล) นี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
มัชฌิมศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อมัชฌิมศีล) นี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
มหาศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อมหาศีล) นี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
อินทรัยสังวร (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร หัวข้ออินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ สันโดษ)


ทรงสรุปว่า ด้วยประการดังกล่าว ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และเป็นผู้สันโดษ


เมื่อภิกษุประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด นั่งคู้บัลลังก์ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากความเพ่งเล็งได้ ฯลฯ


ว่าด้วยอุปมานิวรณ์ 5 (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร หัวข้อ เปรียบนิวรณ์)
รูปฌาณ 4 (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร หัวข้อ เปรียบนิวรณ์)


ทรงสรุปว่า นี้คือจรณะนั้น


วิชชา 8 - วิปัสสนาญาณ (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)


ทรงสรุปว่า ทั้งหมดนี้เป็นวิชชา


ภิกษุผู้ปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่าผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทั้งวิชชา และจรณะบ้าง อันวิชชาและจรณะสมบัติอย่างอื่น ซึ่งดียิ่งกว่าหรือประณีตกว่านี้ไม่มี


อบายมุขของวิชชาจรณสัมปทา


วิชชา และจรณะสมบัติ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ มีทางเสื่อมอยู่ 4 ประการ
1. สมณพราหมณ์บางคน เมื่อไม่บรรลุวิชชา และจรณะสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้ หาบบริขารดาบส เข้าไปสู่ป่าด้วยตั้งใจว่าจักบริโภคผลไม้ที่หล่น เขาต้องเป็นคนบำเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่หนึ่ง
2. สมณพราหมณ์บางคน ไม่บรรลุ ฯ ถือเสียมและตะกร้าเข้าป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้ เขาต้องเป็นคนบำเรอ ฯ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่สอง
3. สมณพราหมณ์บางคน เมื่อไม่บรรลุ ฯ ไม่สามารถหาผลไม้ที่หล่น และเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้บ้านหรือนิคม และบำเรอไฟอยู่ เขาต้องเป็นคนบำเรอ ฯ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่สาม
4. สมณพราหมณ์บางคน เมื่อไม่บรรลุ ฯ ไม่สามารถหาผลไม้ที่หล่น ฯลฯ และไม่สามารถบำเรอไฟได้ จึงสร้างเรือนมีประตูสี่ด้านไว้ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง แล้วตั้งสำนักอยู่ด้วยตั้งใจว่า ผู้ใดที่มาจากทิศทั้ง 4 นี้ เราจักบูชาท่านผู้นั้นตามสติกำลัง นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่สี่


ทรงตรัสถามว่า ตัวเขาและอาจารย์ปรากฏในวิชชา และจรณะสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้บ้างหรือไม่ ก็ได้รับการกราบทูลตอบว่า ตัวเขาและอาจารย์ยังห่างไกลจากสมบัติดังกล่าวอยู่มาก


ทางตรัสถามต่อไปว่า เมื่อเขาและอาจารย์ไม่บรรลุ ฯ และไม่ได้ดำเนินการตาม 4 ประการ
ดังกล่าวข้างต้น เขากับอาจารย์จึงเสื่อม และคลาดจากทางเสื่อมของวิชชา และจรณะอันเป็นคุณยอดเยี่ยม 4 ประการนี้ด้วย


ทรงตรัสต่อไปว่า พราหมณ์โปกขรสาติได้พูดว่า สมณะโล้นบางเหล่า เป็นเชื้อสายคฤหบดี กัณหโคตร เกิดแต่บาทของพรหม ประโยชน์อะไรที่พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชชาจะสนทนาด้วย


แม้แต่ทางเสื่อมตนก็ยังไม่ได้บำเพ็ญ ความผิดของพราหมณ์โปกขรสาตินี้เพียงใด ถึงแม้กินเมืองที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน แต่ก็ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าเฝ้าหน้าพระที่นั่ง เวลาจะปรึกษาด้วยก็ทรงปรึกษานอกพระวิสูตร


ทรงตรัสถามว่า เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล จะทรงปรึกษาราชกิจกับมหาอำมาตย์ หรือ พระราชวงศานุวงศ์ แล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งจากที่นั้น ภายหลังคนชั้นศูทร หรือ ทาสคนชั้นศูทรมา ณ ที่นั้น แล้วพูดอ้างว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสอย่างนี้ ๆ เพียงเขาพูดเหมือน พระราชาตรัส หรือปรึกษาได้เหมือนพระราชาทรงปรึกษา จะจัดว่าเป็นพระราชาหรือราชอำมาตย์ได้หรือไม่ อัมพัฏฐมาณพกราบทูลตอบว่า ข้อนี้เป็นไปไม่ได้


บุรพฤๅษี 9 ตน


ทรงตรัสต่อไปว่า เธอก็เช่นนั้นเหมือนกัน บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพวกพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ในปัจจุบัน พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว กล่าวได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ เพียงคิดว่าเรากับอาจารย์เรียนมนต์จากท่านเหล่านั้น เธอจักเป็นฤๅษีหรือปฏิบัติเพื่อเป็นฤๅษีได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้


เธอได้ฟังพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์เล่ามาว่าอย่างไร บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ฤๅษีเหล่านั้น อาบน้ำ ฯลฯ บำเรออยู่ด้วยกามคุณห้า เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่ อัมพัฏฐมาณพกราบทูลรับว่า ไม่เหมือน


ทรงตรัสว่า เธอกับอาจารย์มิได้เป็นฤๅษีเลย ทั้งมิได้ปฏิบัติเพื่อเป็นฤๅษี ด้วยประการฉะนี้ ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในตัวเรา จงถามเราด้วยปัญหา เราจักชำระให้ด้วยการพยากรณ์ ฯ


พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจงกรม อัมพัฏฐมาณพได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ โดยมากเว้นอยู่ 1 ประการ คือพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก 1 พระชิวหาใหญ่ 1 จึงยังเคลือบแคลงสงสัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อัมพัฏฐมาณพได้เห็น เมื่อได้เห็นแล้วก็ได้ทูลลากลับไป


โปกขรสาติพราหมณ์


อัมพัฏฐมาณพได้ไปพบโปกขรสาติพราหมณ์ แจ้งให้ทราบถึงเกียรติศัพท์ และมหาปุริสลักษณะของพระผู้มีพระภาค ว่าเป็นเช่นนั้นจริง และได้เล่าเรื่องที่ตนได้สนทนาปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคให้ทราบ พราหมณ์ ฯ ได้ทราบแล้วก็ขัดใจ กล่าวตำหนิอัมพัฏฐมานพ แล้วเตรียมตัวไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค


วันรุ่งขึ้นพราหมณ์ ฯ เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ และทูลถามถึงเรื่องที่อัมพัฏฐมาณพมาเฝ้า พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเล่าเรื่องให้พราหมณ์ ฯ ทราบทุกประการ พราหมณ์ ฯ ได้ทูลขอโทษแทนอัมพัฏฐมาณพ แล้วพิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ก็ได้เห็นว่ามีครบบริบูรณ์ไม่บกพร่อง จึงได้ทูลขอให้พระองค์ พร้อมพระภิกษุสงฆ์รับภัตตาหารในวันนี้ ที่นิเวศน์ของพราหมณ์


เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ได้ตรัสอนุบุพพิกกถา แก่พราหมณ์ ฯ คือ
ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกจากกาม


เมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์มีจิตคล่อง มีจิดอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใสแล้ว
จึงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์ฯ

ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พราหมณ์โปกขรสาติว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา
เหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น


พราหมณ์โปกขรสาติแสดงตนเป็นอุบาสก


ลำดับนั้น พราหมณ์โปกขรสาติ เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้ทราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้


ข้าพระองค์พร้อมทั้งบุตรภริยา บริษัทและอำมาตย์ ขอถึงพระองค์ และพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอพระสมณโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จบอัมฟัฏฐสูตร ที่ 3

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s2.htm

2 สามัญญผลสูตร




เรื่องพระเจ้าอชาติศัตรู

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับ ณ สวนอัมพวัน ใกล้นครราชคฤห์ พระเจ้าอชาติศัตรู พระเจ้าแผ่นดินมคธ ได้กล่าวกับเหล่าอำมาตย์ว่า วันนี้เราควรเข้าไปหาสมณะ หรือ พรามณ์ผู้ใดดี เหล่าอำมาตย์ต่างกราบทูลชื่อเจ้าลัทธิ 6 คน คือ ปูรณะ กัสสป มักขลิ โคสาล อชิตะ เกสกัมพล ปกุธะ กัจจายนะ สญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถ์ นาฎบุตร แต่พระองค์ทรงนิ่งอยู่ ต่อมา หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้กราบทูลว่าพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ที่พระองค์ควรไปเฝ้า เพราะทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

พระเจ้าอชาติศัตรูเห็นด้วย จึงได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามปัญหาบางเรื่องคือ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์เลี้ยงชีพ ในปัจจุบันพระองค์อาจบัญญัติ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้บ้างหรือไม่

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ปัญหาข้อนี้ได้ตรัสถามสมณพรหมณ์พวกอื่นแล้วหรือยัง และเมื่อถามแล้ว สมณพราหมณ์นั้นพยากรณ์ว่าอย่างไร

พระเจ้าอชาติศัตรูทูลตอบว่าได้เคยถามแล้ว และแต่ละท่านได้พยากรณ์ ดังต่อไปนี้

วาทะของปูรณะ กัสสปะ

เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำบาปกรรมต่าง ๆ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป เมื่อทำบุญต่างๆ บุญนั้นก็ไม่มีถึงเขา ปูรณ กัสสป ตอบถึงการที่ทำแล้วไม่เป็นอันทำ

วาทะของมักขลิ โคสาล

สัตว์ทั้งหลายหาเหตุ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเองและของผู้อื่น ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายตามความประจวบความเป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น พาลและบัณฑิตเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดของทุกข์ได้เอง

วาทะของอชิตะ เกสกัมพล

ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูติรูปทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็จะเป็นไปตามธาตุนั้น ๆ เพราะกายสลายทั้งพาล และบัณฑิตย่อมขาดสูญ

วาทะของปกุธะ กัจจายนะ

สภาวะทั้ง 7 กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีใครนิรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ไม่แปรปรวน ไม่อาจให้เกิดสุข และทุกข์แก่กันและกัน สภาวะทั้ง 7 กองดังกล่าวคือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะ ผู้ฆ่าก็ดี ผู้ให้ฆ่าก็ดี ผู้เข้าใจความ ไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น เพราะว่าบุคคลจะเอาศาสตรา ตัดศรีษะกัน ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิต ใคร ๆ เป็นแต่ศาสตราสอดไปตามช่องแห่งสภาวะทั้ง 7 กองเท่านั้น

วาทะของนิครนถ์ นาฎบุตร

นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรณ์แล้วด้วยสังวร 4 ประการ คือเป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง เพราะเหตุที่เป็นผู้สังวรณ์ดังกล่าว บัณฑิตจึงเรียกว่า เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว

วาทะของสญชัย เวลัฏฐบุตร

ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า โลกหน้ามีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าถามว่าโลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่าไม่มี ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี ฯลฯ ถ้าถามว่าสัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีหรือ ถามว่าผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือ ถามว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเกิดอีกหรือ ไม่เกิดอีกหรือ ฯลฯ อาตมภาพเห็นว่าอย่างไรก็จะตอบไปอย่างนั้น

วาทะของเจ้าลัทธิทั้งหก เปรียบเหมือนเขาถามอย่างแต่ตอบไปอย่างอีก

สันทิฏฐิสามัญญผลปุจฉา

แล้วพระเจ้าอชาติศัตรูก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก ที่คนเหล่านั้นอาศัยผลแห่ง ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์ เลี้ยงชีพอยู่ในปัจจุบัน เขาย่อมบำรุงตน บิดามารดา บุตรภริยา ฯลฯ ให้เป็นสุข บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ พระองค์อาจบัญญัติ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ได้หรือไม่

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อาจอยู่ แล้วทรงถามพระเจ้าอชาติศัตรูถึง ทาสกรรมกรของพระเจ้าอชาติศัตรู ได้ออกบวช เป็นบรรชิตแล้ว จะพึงปฏิบัติต่อผู้นั้นอย่างเดิมหรือไม่ พระเจ้าอชาติศัตรูทูลตอบว่า จะทำเช่นนั้นไม่ได้ แต่ควรจะไห้วเขา บำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และศิลานปัจจจัยเภสัชบริขาร และควรจะจัดการป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เป็นข้อแรก

สันทิฐิสามัญญผลเทศนา

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูขอให้แสดงสามัญผลในข้ออื่นทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผล ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพุทธพจน์ว่า

พระตถาคต เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เห็นว่าฆราวาสคับแคบ บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง จึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ ฯ
จุลศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
มัชฌิมศิล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
มหาศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)

อินทรียสังวร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ..... ฟังเสียงด้วยโสต ..... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ..... ลิ้มรสด้วยชิวหา ..... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ..... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ..... ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมครอบงำ ภิกษุผู้ประกอบด้วย อินทรีย์สังวรเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลศในภายใน

สติสัมปชัญญะ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในอิริยาบทต่าง ๆ

สันโดษ ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปในที่ใด ๆ ก็ถือไปได้เอง เหมือนนกที่จะบินไปที่ใดก็มีแต่ปีกของตัวบินไป

จิตปราศจากนิวรณ์

ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยะแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ในกาลภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้เฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก ย่อมชำระจิตใจบริสุทธิ์ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ละถีนมิทธะ มีความกำหนดหมาย อยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ละอุทธัจจะกุกกุจจะมีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ละวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย

เปรียบนิวรณ์

เปรียบเหมือนคนจะกู้หนี้ไปประกอบกิจการงาน เมื่อการงานสำเร็จผล เขาพึงใช้หนี้และมีกำไรเหลืออยู่ ดังนั้นเขาจะพึงได้ความปราโมทย์ โสมนัส เพระความไม่มีหนี้ เปรียบเหมือนผู้ป่วยแล้วหายป่วย ผู้ที่ถูกจองจำ แล้วพ้นจากการจองจำ ผู้ที่เป็นทาสแล้วพ้นจากความเป็นทาส ผู้ที่มีทรัพย์เดินทางไกล มีภัยเฉพาะหน้า แล้วพ้นภัยนั้นได้

ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 เหล่านี้ ที่ละได้แล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ กายย่อมสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แหละเป็นสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่าประณีตกว่า สามัญผลข้อก่อน ๆ

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพระวิตก วิจาร สงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็นสามัญผล ที่ดีกว่า ประณีตกว่า

ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิอยู่ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

วิชาแปด

วิปัสสนาญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อฌาณทัสนะ ย่อมรู้ชัดว่า กายของเรานี้ มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 ไม่เที่ยง มีอันทำลายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

มโนมยิทธิญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

อิทธิวิธี ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฎทำให้หายก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนเป็นที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

ทิพยโสตญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตมนุษย์ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

เจโตปริยญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ ย่อมกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น คนอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี-ไม่มี โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน มหรคต จิตอื่นยิ่งกว่าจิตเป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

ปุพเพนิวาสนานุสสติญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมระลึกชาติได้เป็นอันมาก ว่าในภพที่ผ่านมาเราได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขทุกข์ กำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ และอุเทศ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ

จุตูปปาตญาณ ภิกษุนั้น ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกาย วจี มโน ทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กาย วจี มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นสามัญผล

อาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ๆ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี ฯ

พระเจ้าอชาติศัตรู แสดงพระองค์เป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาติศัตรู ได้กราบทูลว่า

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ฉันใด

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยเอนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน

หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอทรงจำหม่อมฉันว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

โทษได้ครอบงำหม่อมฉัน หม่อมฉันได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม ขอพระผู้มีพระภาค ทรงรับทราบความผิดของหม่อมฉันโดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า จริง ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตร ที่ได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดา ผู้ดำรงธรรม เพราะเหตุแห่งความเป็นใหญ่ แต่มหาบพิตรทรงเห็นความผิดโดยเป็นความผิด ทรงสารภาพตามเป็นจริง อาตมภาพขอรับทราบความผิด ของมหาบพิตร การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิด แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไปนี้เป็นความชอบในวินัยของพระอริยเจ้า ฯ

เมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูกราบทูลลาไปแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า พระราชาองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว ถูกขจัดเสียแล้ว หากท้าวเธอไม่ปลงพระชนม์ชีพพระบิดา ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน จักเกิดแก่ท้าวเธอ ณ ที่ประทับนี้ทีเดียว


จบสามัญญผลสูตรที่ 2

http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s1.htm