....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

14 พ.ค. 2554

สถานที่ปรินิพพาน ประเทศอินเดีย









กุสินารา


เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า

กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา - ในเขตจังหวัดเดวเย หรือ เทวริยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทาย สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์

ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย

สถูปและวิหารปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
________________________________________
สถานที่ที่คาดว่า เป็นสาลวโนทยานเก่า ที่พระพุทธเจ้าประทับในคืนปรินิพพาน อยู่ในตำบลที่เรียกว่า มถา กุนวาระ กา โกฎ ในภาษาฮินดี แปลว่า "ตำบลเจ้าชาย สิ้นชีพ" (หมายถึงพระพุทธเจ้า)

ในบริเวณตำบลนี้เอง มีอนุสรณ์สถานที่ให้ระลึกพระพุทธองค์ อยู่ ๒ แห่ง แห่งหนึ่ง ดังในภาพที่เห็นคือ ปรินิพพานวิหาร เป็นวิหารที่พุทธศาสนิกชนผู้จาริกแสวงบุญ เข้าไปสวดมนต์ ทำจิตภาวนาเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ ในพระวิหารนี้ ประดิษฐานพระพุทธปางปรินิพพาน ที่มีพุทธศิลปะงดงามมาก มีขนาดความยาว ๒๓ ฟุต ๙ นิ้ว(ราวๆ ๗ เมตร) กว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว มีอายุถึง ๑๕๐๐ปี ผู้จัดสร้างคือ หริพละสวามี นายช่างผู้แกะสลัก ชื่อว่าธรรมทินนา เป็นชาวมถุรา สร้างขึ้นในราวๆ พุทธศตวรรษ ที่ ๙ น่าจะศิลปะแบบมถุรา พุทธลักษณะราวกับว่า มองเผินๆเหมือนกับพระพุทธเจ้าเพิ่งทรงปรินิพพานไป ไม่นาน



พระพุทธรูปปางปรินิพพาน ประดิษฐานในปรินิพพานวิหาร กุสินารา

ในคราวที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จมานมัสการสังเวชนียสถานในอินเดีย ในพ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงพระราช ทานผ้าห่มถวายเป็นพุทธบูชาด้วย ผ้าห่มยาวคลุมถึงข้อพระบาท ส่วนบนปิดถึงพระศอ (คอ) ของพระพุทธรูป

เท่าที่ได้ทราบมา ชาวพุทธหลายคนที่ไปนมัสการ บางท่านได้นำเอาทองคำเปลวไปติดไว้ที่พระบาทเพื่อบูชา เคยเกิด ปาฏิหาริย์ ทองเปลวนั้ ดูดติดเข้าไปในพระบาทราวกับเนื้อเดียวกัน


ปรินิพพานสถูป กุสินารา
________________________________________
หลังพระวิหารปรินิพพาน มีพระสถูปองค์หนึ่ง เรียกว่า ปรินิพพานสถูป สร้างในรัชสมัยพระเจ้าอโศก พระเจ้าอโศก ได้เสด็จมานมัสการสังเวชนียสถานที่กุสินารานี้ ประวัติว่า พระเจ้าอโศกเมื่อทรงมาถึงสถานปรินิพพาน ทรงเศร้าโศก พระทัย เพราะอาลัยถึงพระพุทธองค์ ถึงกับทรงวิสัญญีล้มสลบ และได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์หนึ่งแสน โปรดดำริให้ ก่อสร้างพระสถูปขนาดใหญ่ ขึ้นในบริเวณที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงให้สร้างคร่อมพระแท่นที่ ปรินิพพาน พร้อมด้วยต้นสาละนั่นเอง มีลักษณะเป็นสถูปทรงบาตรคว่ำ สูงราว ๗๐ ฟุต บนยอดมีฉัตร ๓ ชั้น

หลังจากนั้นมาพระสถูปนี้ก็มีการบูรณะขึ้นในหลายสมัย ได้มีการขุดค้นดูภายในพระสถูป พบของภาชนะเครื่องใช้ ทำด้วยทองเหลือง ทองแดงและเงินตราในสมัยพระเจ้ากุมารคุปต์ (ยุคคุปตะ) ราวๆ พ.ศ. ๙๕๖ ภาชนะทองแดงบางส่วน จารึกว่า "นี่เป็นของหริพละ สวามี" ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับที่ให้สร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ที่ประดิษฐานในปรินิพพาน วิหาร เป็นไปได้ว่า หริพละสวามีผู้นี้ ได้บูรณะพระสถูปนี้ขึ้นด้วย นับจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมา



มหาปรินิพพานวิหาร ภายในสาลวโนทยาน



มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า



สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้าเป็นเวลา 7 วันก่อนอัญเชิญไปถวายพระเพลิงพระบรมศพ


การเดินทางสู่กุสินารา

ผู้เดินทางจาริกแสวงบุญ มักเริ่มเดินทางจากพาราณสี หลังจากนมัสการสังเวชนียสถานที่สารนาถแล้ว หากเดินทาง โดยรถยนต์จากพาราณสี ต้องใช้เวลา ๑ วันเต็ม ต้องข้ามแม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง คือแม่น้ำสรายุ เป็นแม่น้ำกว้างและลึก มีน้ำมากตลอดปี ต้องเอารถยนต์บรรทุกเรือข้ามแม่น้ำไป ถึงโครักขปูร์ เข้าทางแยกไปเมืองกาเซีย หรือกุสินารา เป็นระยะทางประมาณ ๕๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางจากโครักขปูร์ไปกุสินารา มีป่าสาละขึ้นตามรายทาง เป็นป่าสงวน ดูแลโดยรัฐบาลอินเดีย ปลูกขึ้นเมื่อคราวเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ


สาลวโนทยาน แห่งมัลลกษัตริย์ ณ กรุงกุสินารา อาจเป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทางใจที่เข้มข้นชัดเจนได้มากที่สุด สำหรับบุคคลชาวพุทธทั่วไป ในบรรดาสังเวชนียสถานทั้งหมด เมื่อเดินเข้าสู่มหาปรินิพพานวิหาร ที่ปรากฏองค์พระพุทธปฏิมาบรรทมปรินิพพานอยู่ในท่าไสยาสน์ แสดงภาพเหตุการณ์ขณะพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ก็พาให้ผู้เดินทางมากราบนมัสการ นึกถึงเหตุการณ์ หรือความรู้สึก แห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของชาวพุทธในครั้งนั้นได้ทันที


้งนั้นได้ห้ผู้เดินทางมากราบนมัสการ สามารถนุมานู อย่างไม่ทราบเหตุผล หลายท่านอาจร้องไห้สะอึกสืงแตกดับไปเป็นธรรมดา แม้พระรูปกาแม้พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ชาวพุทธที่เดินทางมาถึงที่นี่ ในปัจจุบัน หลายต่อหลายท่าน อาจรู้สึกเหมือนกับกำลังอยู่ร่วมในเหตุการณ์ครั้งนั้น หรืออาจเกิดความรู้สึกร่วมไปกับพุทธบริษัทในครั้งนั้น ทำให้ไม่อาจอดกลั้นความรู้สึกอันท่วมท้นอยู่ท่ามกลางใจ ผู้บันทึกเคยได้ยินอยู่เสมอว่า บางท่านที่เดินทางมาถึงที่นี่ ถึงกับน้ำตาไหลพราก หลายท่านอาจร้องไห้สะอึกสะอื้น อย่างคาดไม่ถึง ราวกับมีเหตุปัจจัยบางอย่าง ที่ทำให้ท่านเหล่านั้น รู้สึกเสมือนหนึ่งอยู่ในเหตุการณ์ หรือสัมผัสได้ถึงกระแสแห่งความรู้สึก อันหลากหลายระคนกัน ของมหาชนชาวพุทธ ผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแห่งพระพุทธองค์ ในครั้งโน้น


โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรินิพพานสถานแห่งนี้ มีบรรยากาศที่เอื้อแก่การน้อมใจให้เกิดโยนิโนมนสิการที่เป็นไปในทางธรรมสังเวช หรือกระตุ้นจิตใจให้เกิดแรงบันดาลใจในทางธรรมะปฏิบัติได้เป็นอย่างมาก เนื่องจาก พระธรรมที่พระองค์ทรงประกาศแก่ชาวพุทธนั้น เป็นไปเพื่อการรู้เห็นความจริงของชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง จนถ่ายถอนความยึดมั่นสำคัญผิด อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ของแต่ละชีวิต ความจริงของชีวิต หรือสัจธรรมที่พุทธองค์ทรงประสงค์ให้รู้เห็นคือ ความที่ชีวิตนี้ เป็นสิ่งไม่เที่ยง ต้องเกิดดับ เสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา


การเสด็จล่วงลับดับขันธ์ของพระพุทธองค์ ได้ย้ำชัดให้เห็นถึงสัจธรรมของชีวิต ที่พระพุทธองค์ทรงพร่ำสอนมาระยะเวลาแห่งการประกาศพระศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น แม้ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสย้ำเป็นปัจฉิมโอวาทอีกว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำกิจให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด สถานที่จริงที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งปรากฏต่อหน้า และคล้ายกับยังมีสภาพของบรรยากาศในเหตุการณ์ครั้งนั้นอยู่ก็ดี การตระหนักรับรู้ถึงพระดำรัสที่พระพุทธองค์ตรัส ในขณะที่พระองค์เองใกล้จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานก็ดี ล้วนเอื้อให้เกิดความรู้สึกที่เป็นไป ในทางให้เห็นตาม หรือยอมรับตามเป็นจริง ในสัจธรรมของชีวิต คือ ความที่สังขารคือรูปธรรมนามธรรม เป็นของที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องแตกดับไปเป็นธรรมดา จะบังคับให้เป็นไปตามต้องการไม่ได้ หากเข้าไปยึดมั่นสำคัญผิด หรือฝืนให้เป็นไปตามความต้องการแล้ว ย่อมก่อให้เกิดทุกข์ไม่สิ้นสุด การเข้าไปเห็นความจริงนั้น แล้วยอมรับตามที่เป็นจริงเท่านั้น จึงจะทำให้เข็ดหลาบหมดความอาวรณ์ คลายความติดยึด ไม่เกิดความทุกข์อีกต่อไป


ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันไม่มีประมาณ พระพุทธองค์ทรงประทานพระโอวาทครั้งสุดท้าย คือ ความไม่ประมาท เพื่อให้ชาวพุทธถือปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิต เพราะชีวิตคือสิ่งที่ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงแปรปรวนอยู่เสมอ หากตั้งอยู่ในความประมาทเสียแล้ว ย่อมทำให้เพิกเฉยไม่ใส่ใจต่อสิ่งที่ควรทำ ปล่อยเวลาไปอย่างสูญเปล่าไร้ประโยชน์ หรือไม่ก็ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งจะเป็นโทษแก่ชีวิต ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ ซึ่งเป็นคุณแก่ชีวิต เมื่อชีวิตตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเสียอย่างเดียวแล้ว ก็จะรู้จักตระหนักและขวนขวายในกิจหรือหน้าที่ที่ควรทำ ซึ่งก็คือการดำเนินชีวิตในครรลองธรรม เพื่อนำพาชีวิตให้บรรลุประโยชน์สุขตามสมควรแก่ธรรมนั้นตามลำดับ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ชีวิตที่เกิดมาควรได้ควรถึง
ดั่งธรรมอุทานขององค์อินทราธิราช ซึ่งเสด็จมาเข้าเฝ้าในคราปรินิพพานสมัย แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข
แปลว่า
สังขารคือสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้เลย
มีการเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาแล้ว
ก็ย่อมดับไป
การระงับสังขารเหล่านั้นได้ จึงจะเป็นสุข


ดังนั้น โดยความหมายสูงสุดแล้ว กิจหรือข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนานั้น จึงเป็นไปเพื่อการระงับสังขาร คือ การก่อภพ สร้างชาติ ก่อเวร สร้างกรรม แล้วเวียนตาย เวียนเกิด เพื่อรับวิบากแห่งกรรมเวรนั้น อันมีแต่ความทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ไม่ประมาท ย่อมจะพยายาม ดำเนินปฏิปทาตามโอวาทานุสาสนี ของพระพุทธองค์ เพื่อให้เกิดความพรั่งพร้อม แห่งคุณธรรมทั้งหลาย จนสามารถระงับสังขาร ทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด เข้าถึงสภาพแห่งการหยุดปรุงแต่ง คือ มหานิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ อย่างแท้จริง และถาวร

http://living4sati.blogspot.com/

http://images.palungjit.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น