สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี สมัยนั้น พราหมณ์ทูตชาวโกศลรัฐ และพราหมณ์ทูตชาวมคธรัฐมากด้วยกัน พักอยู่ในเมืองเวสาลี ได้สดับข่าวว่า ..... (รายละเอียดว่าด้วยพุทธคุณ) แล้วได้เข้าไปยังกูฏาคารศาลา
เรื่องของพระนาคิตเถระ พุทธอุปัฏฐาก
สมัยนั้น พระนาคิตเถระ เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค เมื่อพวกพราหมณ์ และพวกเจ้าลิจฉวี จะขอเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่พระนาคิตเถระตอบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทับหลีกเร้นอยู่ เขาเหล่านั้นจึงนั่งคอยเข้าเฝ้าอยู่ ต่อมาสามเณรนามว่าสีหะ ได้ขอร้องพระนาคิตะ ขอให้อนุญาตให้ผู้มารอเข้าเฝ้าดังกล่าวได้เข้าเฝ้า พระนาคิตะจึงให้สามเณรสีหะไปกราบทูล สามเณรสีหะจึงเข้าไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสสั่งให้สามเณรสีหะ จัดอาสนะในร่มหลังวิหาร ให้เป็นที่เข้าเฝ้า
เจ้าโอษฐัทธลิจฉวี พร้อมบริษัทหมู่ใหญ่ ได้เข้าเฝ้าแล้ว จึงได้กราบทูลถาม ถึงการได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม แต่ไม่ได้ยินเสียงทิพย์ ดังนั้นเสียงทิพย์มีอยู่หรือไม่ ทรงตรัสตอบว่ามี
สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน
ทรงตรัสว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ และเจริญเพื่อได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ แต่มิได้เจริญเพื่อได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
การเห็นรูปทิพย์ การฟังเสียงทิพย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
เหตุแห่งการทำให้แจ้งสมาธิภาวนา
เจ้าลิจฉวีกราบทูลถามว่า ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อเหตุจะทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้น เพียงเท่านั้นหรือ
ตรัสตอบว่ามิใช่ ยังมีธรรมอื่น เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่า ประณีตกว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า เพราะสัญโยชน์ 3 หมดสิ้นไป
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้ เพียงอีกครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสัญโยชน์ 3 หมดสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ หมดไป
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุไปเกิดในภพสูง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น เพราะสัญโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำ 5 ประการ หมดสิ้นไป
อริยมรรคมีองค์ 8
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน
มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ มรรคนี้ปฏิปทานี้ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น
เรื่องของมัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก
ดูกร มหาลี สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ดังนั้น บรรพชิต 2 รูป คือ มัณฑิยปริพาชก และชาลิยะ เข้าไปหาเรา แล้วถามว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง เราตอบว่า ท่านจงฟัง แล้วแสดงพุทธคุณ จากนั้น แสดง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล รูปญาณ 4 วิชชา 8 วิปัสสนาญาณ จบแล้วทรงสรุปว่า ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรจะกล่าวอย่างที่ทั้งสองรูปถามหรือไม่ ทั้งสองรูปก็ยอมรับว่า จะไม่ถามเช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวียินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค
จบ มหาลิสูตร ที่ 6
http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s5.htm
7. ชาลิยสูตร
ป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากมหาลิสูตร ในตอนท้ายที่ว่าด้วยเรื่องมัณฑิยปริพาชก และชาลิยปริพาชก ที่พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ที่โฆสิตาราม แล้วถามปัญหาเดียวกัน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพุทธคุณ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล รูปฌาณ 4 วิชชา 8 และวิสัปสสนาญาณ จบแล้ว ทรงสรุปทำนองเดียวกัน
บรรพชิตทั้ง 2 รูป ก็ยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค
จบ ชาลิยสูตร ที่ 7
http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/s6.htm
นิทานชาดก นิทานธรรมะ นิทานคุณธรรม นิทานภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน
http://www.kalyanamitra.org/chadok/mixchadok/mixchadok.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น