....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

14 พ.ค. 2554

วันอัฎฐมีบูชา



ความหมาย

เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ยังไม่สว่าง พระอนุรุทธะ กับ พระอานนท์ก็แสดงธรรมไปจนสว่าง พอสว่างแล้ว พระอนุรุทธะจึงบัญชาให้พระอานนท์ไปบอกข่าวปรินิพพานแก่มัลลกษัตริย์ พอมัลลกษัตริย์ได้ฟังข่าวแล้วต่างก็โศกเศ้ร้าอย่างหนัก และสั่งให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลองประกาศแจ้งข่าวนั้นทั่วเมือง แล้วนำเครื่องสักการะบูชา เครื่องดนตรี ผ้าอย่างดี ๕๐๐ พับ เสด็จไปสู่สาลวันพร้อมกัน บูชาพระพุทธสรีระอย่างมโหฬารสิ้นกาล ๖ วัน ๖ คืน

ครั้นรุ่งขั้นวันที่ ๗ ก็ปรึกษากันว่า จะเชิญพระสรีระไปทางทิศใต้แห่งพระนคร แล้วถวายพระเพลิงนอกเมือง, ครั้งนั้น มัลลปาโมกข์ทั้ง ๘ พระองค์ ซึ่งมีกำลังมาก พร้อมกันเข้าอัญเชิญพระพุทธสรีระ ตแก็ไม่สามาารถที่จะให้เขยื้อนจากที่ได้ ท่านเหลานั้นรู้สึกแปลกใจ จึงถามพระอนุรุทธ ๆ ก็ตอบว่า "ที่ทำไปนั้นขัดกับความประสงค์ของเทวดา เทวดาประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธรสรีระไปทางทิศเหนือแห่งพระนครแล้ว เข้าทางประตูทิศเหนือ ผ่านไปท่ามกลางพระนคร เยื้องไปออกทางประตูทิศตะวันออก แล้วถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระที่มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ที่ด้านตะวันออกแห่งพระนคร" พวกมัลลกษัตริย์ได้ยินเช่นนั้นจึงผ่อนผันตามประสงค์

แล้วประดิษฐานบนจิตกาธาร คือ เชิงตะกอนที่ทำด้วยไม้หอมล้วย ๆ แล้วมัลลปาโมกข์ ๔ พระองค์ก็นำเพลิงเข้าไปจุดยังเชิงตะกอนทั้ง ๔ ทิศ แต่ก็ไม่สามารถจะจุดให้เพลิงติดได้ มีความสงสัยจงตรัสถามท่านพระอนุรุทธะ และท่านก็เฉลยให้ทราบว่า "เทวดาให้รอพระมหากัสสปะ ได้ถวายบังคมพระพุทธบาทด้วยเศียรเกล่าเสียก่อน" มัลลกษัตริย์จึงผ่อนผันตาม.





ขณะนั้น พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป กำลังเดินทางจาก ปาวานคร แวะพักอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง ได้เห็นอาชีวกผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพเดินมาแต่ไกลหวังไปเมืองปาวานคร พระมหากัสสปะจึงถามข่าวพระพุทธเจ้า, อาชีวกนั้นก็ตอบว่า พระสมณโคดมได้บรินิพพานไป ๗ วันแล้ว" ลำดับนั้น ภิกษุที่ยังไม่สิ้นราคะ ก็ร้องไห้กลิ้งเกลือกไปมา ส่วนภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพก็มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นด้วยธรรมสังเวช,ขณะนั้นภิกษุแก่รูปหนึ่งชื่อ"สุภัททะ" ได้ติดตามพระเถระและภิกษุทั้งหลายด้วย ได้ร้องกล่าวห้ามขึ้นว่า "หยุดเท่านั้นเถิดท่านทั้งหลาย อย่าได้เศร้าโศกถึงพระสมณะนั้นเลย เราทั้งหลายได้พ้นจากพระสมณะนั้น ด้วยว่าพระองค์ทรงสังสอนว่าสิ้งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เราทั้งหลายเกรงก็ต้องทำตาม จึงลำบากนัก, บัดนี้ พวกเราจะทำสิ่งใดก็ได้ตามความพอใจไม่เกรงบัญชาใคร" พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน จึงปลอบโยนภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แล้วรีบนำภิกษุทั้งหลายไปสู่กุฏันธนเจดีย์



ครั้งเข้าไปใกล้จิตกาธาน (เชิงตะกอน) จึงทำผ้าอุตตราสงฆ์ (จีวร) ให้เฉวียงข้างหนึ่ง ประฌมมือขึ้นนมัสการ กระทำประทักษิณ (เวียนรอบ) จิตกาธาร ๓ รอบ แล้วถวายบังคมพระบาททั้งคู่ด้วยเศียรเกล้า เมื่อมหากัสสปะและภิกษุ ๕๐๐ รุ) ถวายบังคมแล้ว เตโชธาตุ (ไฟ ) อันเป็นทิพย์ก็ได้เกิดขึ้นเอง ลุกโชติช่วงเผาพระพุทธสรีระพร้อมทั้งจิตกาธาร ซึ่งการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อ วันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ก่อน พุทธศก ๑ ปี โดยมีมัลลกษัตริย์เป็นเจ้าภาพจัดการพระศพ โดยได้ถวายพระเพลิงที่ มกุฎพันธนเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกภายนอกกรุงสินารานั่นเอง



สิ่งที่ยังเหลืออยู่



การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ (พระศพ) นั้น เตโชธาตุ (ไฟ) ได้ติดจิตการธารขึ้นเอง ด้วย อานุภาพของเทวดา ไม่มีใครนำไฟเข้าไปจุด และพระเพลิงนั้นก็ไม่ได้เผาไหม้ไปหมดทุกอย่าง ยังคงเหลือไว้แต่บางส่วน คือเหลือไว้ ๕ อย่าง ได้แก่.



๑.พระอัฐิ (กระดูก)
๒.พระเกสา
๓.พระโลมา
๔.พระนขา
๕.พระทันตา



กับผ้าคู่หนึ่งยังคงเหลือเป็นปกติ นอกนั้นพระเพลิงเผาไหม้ทั้งหมด. (และอาศัยเหตุที่มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระที่มกุฎพันธนเจดีย์ ในวัน ๘ ค่ำ เดือน ๖ นี้เอง เป็นเหตุให้ชาวพุทธเราจัดให้มีการบูชาประจำปีเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์วันถวายพระเพลิง



วันสำคัญนั้นคือ (วันอัฎฐมีบูชา)



เมื่อเสร็จจากการถวายพระเพลิง มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ก็นำเอาน้ำหอมมาดับจิตกาธาร (ดับไฟที่เชิงตะกอน) แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ ณ ลัณฐาคารศาลา ภายในพระนครตั้งเหล่าทหารรักษารายล้อมภายในพระนครอย่างแข็งแรงมั่นคง ด้วยประสงค์จะไม่ให้ใครแย่งชิงไป และได้ทำการสักการะบูชามโหฬาร และมีมรหรสพฉลองพระบรมสารีริกธาตุ อย่างมโหฬารตลอด ๗ วัน ๗ คืน.


ประวัติความเป็นมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี
พุทธศาสนิกชนบางส่วนโดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่







ความสำคัญ



โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวช และระลึกถึงพระพุทธคุณ ให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าโดยทั่วกัน

พิธีอัฏฐมีบูชา



การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น
คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา



ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา. สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.

หนังสืออ้างอิง.-
-บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,คู่มือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
-บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,ปัญหาและเฉลยสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
-บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,คู่มือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
-บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,ปัญหาและเฉลยสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
-ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมะเพื่อพัฒนาสังคม,คู่มือธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๗,โรงพิมพ์เอกพิมพ์ไท จำกัด,กรุงเทพฯ,๒๕๔๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น