#ประวัติพระครูกาเดิม (เปรียม ฐิตจาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพาน หมู่ที่ ๗ ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระครูกาเดิม(เปรียม ฐิตจาโร) เดิมชื่อเปรียม บุญโชติ เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ปีจอ ณ บ้านบางหลวง หมู่ที่ ๔ (ภายหลังแยกออกมาเป็นหมู่ที่ ๑๑) ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนโตของนายสว่าง บุญโชติ กับนางจิ้น ศรีระบาย ในบรรดาพี่น้องร่วมบิดา ๒ คน และพี่น้องต่างบิดา ๗ คน รวม ๙ คน
พระครูกาเดิมได้เข้ารับการศึกษาจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี พระครูกาเดิมได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ ณ พัทธสีมาวัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพระครูศรีวุฒิคุณ(หวาน สิริสุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโดนธาราราม (เจ้าคณะตำบลบางจากในสมัยนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระอธิการร่วง เตชปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้รับฉายาในพระพุทธศาสนาว่า "ฐิตจาโร" หลังจากบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้เข้าเรียนธรรมศึกษาจนจบชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอกเรื่อยมาตามลำดับ
#สถานที่จำพรรษา
หลังจากที่พระครูกาเดิมได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆดังนี้
-ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗-๒๔๙๘ จำพรรษา ณ วัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมชั้นตรี ณ สนามสอบวัดธาราวดีหรือวัดบางจากเดิม ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙-๒๕๐๐ จำพรรษา ณ วัดหอยกัน ตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอก ณ สนามสอบวัดหอยกัน ตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ จำพรรษา ณ วัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ จำพรรษา ณ วัดก้างปลา ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓-๒๕๔๙ จำพรรษา ณ วัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
หลังจากที่พระครูกาเดิมได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษา ณ สถานที่ต่างๆดังนี้
-ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗-๒๔๙๘ จำพรรษา ณ วัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมชั้นตรี ณ สนามสอบวัดธาราวดีหรือวัดบางจากเดิม ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙-๒๕๐๐ จำพรรษา ณ วัดหอยกัน ตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอก ณ สนามสอบวัดหอยกัน ตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ จำพรรษา ณ วัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ จำพรรษา ณ วัดก้างปลา ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓-๒๕๔๙ จำพรรษา ณ วัดบางสะพาน ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
-ปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสะพานต่อจากพระใบฎีกาบุญพา ฐิตสํวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพาน
-ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระสมุห์เปรียม ฐิตจาโร เจ้าอาวาสวัดบางสะพาน
-ปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่พระครูกาเดิม เจ้าอาวาสวัดบางสะพาน
-ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระสมุห์เปรียม ฐิตจาโร เจ้าอาวาสวัดบางสะพาน
-ปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่พระครูกาเดิม เจ้าอาวาสวัดบางสะพาน
-เป็นพระธรรมทูต เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ กรุงเทพมหานคร
-สอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร ภายในวัดบางสะพานและวัดอื่นๆในตำบลบางจาก
-เป็นเกจิอาจารย์ในการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคลต่างๆมากมายในจังหวัดนครศรีธรรมราชและต่างจังหวัด
-เป็นเกจิอาจารย์ร่วมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
-สอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร ภายในวัดบางสะพานและวัดอื่นๆในตำบลบางจาก
-เป็นเกจิอาจารย์ในการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคลต่างๆมากมายในจังหวัดนครศรีธรรมราชและต่างจังหวัด
-เป็นเกจิอาจารย์ร่วมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
-สร้างศาลาการเปรียญ(วิหาร) แทนหลังเก่าที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์มหาวาตภัยแหลมตะลุมพุกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕
-สร้างพระพุทธนิมิต(พระลาก) ประจำวัดบางสะพานแทนพระลากองค์เก่าที่สร้างด้วยไม้แก่นขนุนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗
-สร้างพระอุโบสถต่อจากพระใบฎีกาบุญพา ฐิตสํวโร อดีตเจ้าอาวาสที่สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖
-สร้างกุฏิเจ้าอาวาส
-สร้างกุฎิที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร ที่เข้ามาจำพรรษา
-สร้างหอสมุด หอระฆัง
-สร้างฌาปนสถาน(เมรุ)
-สร้างพระพุทธนิมิต(พระลาก) ประจำวัดบางสะพานแทนพระลากองค์เก่าที่สร้างด้วยไม้แก่นขนุนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗
-สร้างพระอุโบสถต่อจากพระใบฎีกาบุญพา ฐิตสํวโร อดีตเจ้าอาวาสที่สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖
-สร้างกุฏิเจ้าอาวาส
-สร้างกุฎิที่พักสำหรับพระภิกษุสามเณร ที่เข้ามาจำพรรษา
-สร้างหอสมุด หอระฆัง
-สร้างฌาปนสถาน(เมรุ)
#พระครู ๔ การักษาพระธาตุ
พระครูกาเดิมเป็นพระรูปหนึ่งที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติแห่งพระพุทธบัญญัติของพระพุทธโคดม และได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาและสังคมเป็นอย่างมาก จนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูกาเดิม" และเป็นหนึ่งในพระครูกา ๔ เหล่า มีตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชทั้ง ๔ ทิศ ร่วมกับพระครูกาท่านอื่นอีก ๓ ตำแหน่งคือ
- พระครูกาเดิม(กาสีดำ) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศเหนือ(อุดรทิศ)
- พระครูกาแก้ว(กาสีขาว) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศตะวันออก(บูรพาทิศ)
- พระครูการาม(กาสีเหลือง) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศใต้(ทักษิณทิศ)
- พระครูกาชาด(กาสีแดง) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศตะวันตก(ปัจจิมทิศ)
- พระครูกาเดิม(กาสีดำ) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศเหนือ(อุดรทิศ)
- พระครูกาแก้ว(กาสีขาว) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศตะวันออก(บูรพาทิศ)
- พระครูการาม(กาสีเหลือง) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศใต้(ทักษิณทิศ)
- พระครูกาชาด(กาสีแดง) ตำแหน่งหน้าที่รักษาพระบรมธาตุด้านทิศตะวันตก(ปัจจิมทิศ)
พระครูกาเดิมเป็นพรที่มีอัธยาศัยดี อยู่ที่ไหนก็มีคนรัก เคารพนับถือ พูดจาเก่ง เข้ากับสังคมได้ง่ายด้วยพระธรรม เป็นพระเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบแต่งกลอนเพลงบอกกลอนมโนราห์ เป็นพระที่มีความเมตตากรุณาต่อพุทธบริษัท ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่เลือกปฏิบัติ เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ใช้ชีวิตอย่างสันโดด สมถะ และดำรงตนอยู่ในบวรพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตสมณเพศ
เมื่อย้อนไปปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ พระครูกาเดิมได้อาพาธลงด้วยโรคเบาหวานและโรคอัมพฤต จนไม่สามารถเดินด้วยตนเองได้ตามปกติ จึงต้องใช้ไม้เท้าและลูกศิษย์คอยพยุง และได้เข้ารับการรักษาอยู่เป็นประจำ จนกระทั่งท่านมีอาการอาพาธที่หนักขึ้นเรื่อยๆจนเข้ารับการรักษาตัวที่กรุงเทพมหานคร โดยได้รับการดูแลจากญาติๆและลูกศิษย์ของท่านอย่างใกล้ชิด จนถึงวาระสุดท้ายของสังขารเมื่อวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๙ พระครูกาเดิมได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ ๗๒ ปี ๕๒ พรรษา
ทางคณะศิษยานุศิษย์วัดบางสะพานจึงร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลศพพระครูกาเดิมเป็นเวลา ๗ วันแล้วทำการเก็บบรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้วอัญเชิญประดิษฐานในกุฏิของท่านโดยไม่มีพิธีพระราชทานเพลิงหรือฌาปนกิจศพแต่อย่างใดเพราะครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านกำชับกับลูกศิษย์ทุกคนว่าเมื่อท่านมรณภาพไปห้ามนำร่างของท่านไปทำการพิธีพระราชทานเพลิงหรือฌาปนกิจแต่อย่างใด ให้นำร่างของท่านไปเก็บไว้มิให้มดหรือแมลงทำลายร่างของท่านได้ หลังจากนั้นทางวัดได้มีมติดำเนินการสร้างมณฑปกลางสระน้ำเพื่อเป็นที่บรรจุสรีระของท่านอย่างถาวรจนกระทั่งการดำเนินงานสร้างมณฑปเสร็จสิ้นและเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ทางวัดได้ร่วมกับศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายแก่พระครูกาเดิมและทำการเคลื่อนย้ายสรีระของท่านประดิษฐานยังมณฑปกลางสระน้ำตามเจตนารมย์ของท่านที่ปรารภไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันมีศิษยานุศิษย์และผู้ที่ผ่านไปผ่านมายังบ้านบางสะพานได้เข้าไปกราบสรีระของท่านอย่างไม่ขาดสาย
ทางคณะศิษยานุศิษย์วัดบางสะพานจึงร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลศพพระครูกาเดิมเป็นเวลา ๗ วันแล้วทำการเก็บบรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้วอัญเชิญประดิษฐานในกุฏิของท่านโดยไม่มีพิธีพระราชทานเพลิงหรือฌาปนกิจศพแต่อย่างใดเพราะครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านกำชับกับลูกศิษย์ทุกคนว่าเมื่อท่านมรณภาพไปห้ามนำร่างของท่านไปทำการพิธีพระราชทานเพลิงหรือฌาปนกิจแต่อย่างใด ให้นำร่างของท่านไปเก็บไว้มิให้มดหรือแมลงทำลายร่างของท่านได้ หลังจากนั้นทางวัดได้มีมติดำเนินการสร้างมณฑปกลางสระน้ำเพื่อเป็นที่บรรจุสรีระของท่านอย่างถาวรจนกระทั่งการดำเนินงานสร้างมณฑปเสร็จสิ้นและเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ทางวัดได้ร่วมกับศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายแก่พระครูกาเดิมและทำการเคลื่อนย้ายสรีระของท่านประดิษฐานยังมณฑปกลางสระน้ำตามเจตนารมย์ของท่านที่ปรารภไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันมีศิษยานุศิษย์และผู้ที่ผ่านไปผ่านมายังบ้านบางสะพานได้เข้าไปกราบสรีระของท่านอย่างไม่ขาดสาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น