....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

22 เม.ย. 2554

นิทานธรรมบท เรื่องพระนันทเถระ

เรื่องพระนันทเถระ
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภท่านพระนันทเถระพร ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 13 และพระคาถาที่ 14 นี้


ครั้ง หนึ่งเมื่อพระศาสดาประทับที่วัดพระเวฬุวันในกรุงราชคฤห์ พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้ส่งทูตหลายคณะมาทูลเชิญพระศาสดาเสด็จไปกรุงก บิลพัสดุ์ ในที่สุดพระพุทธองค์จึงได้เสด็จไปพร้อมด้วยพระอรหันต์จำนวน 20000 รูป ในวันแรกที่เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์พระองค์ได้ตรัสเวสสันดรชาดกให้พระญาติได้ ฟัง ในวันที่ 2 ได้เสด็จเข้าไปในเมืองและได้ตรัสพระคาถาที่เริ่มบาทแรกว่า “อุตฺติฏเฐ นปฺปมชฺเชยฺย” ซึ่งแปลว่า “บุคคลพึงขยัน ไม่พึงประมาท” ซึ่งเมื่อพระราชบิดาทรงสดับแล้วได้บรรลุพระโสดาปัตติผล และเมื่อเสด็จเข้าไปไปพระราชวังได้ตรัสพระคาถาซึ่งมีความในบาทแรกว่า “ธมฺมํ จเร สุจริตํ” ซึ่งแปลว่า “บุคคลพึงประพฤติธรรมที่สุจริต” ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนาพระราชบิดาได้บรรลุพระสกทาคามิผล หลังจากเสวยภัตตาหารแล้วได้ตรัสจันทกินนรีชาดกซึ่งเกี่ยวโยงกับคุณธรรมของ พระมารดาของราหุล(พระนางยโสธรา หรือพิมพา)


พอถึงวันที่ 3 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าชายนันทะพระพุทธอนุชา(พระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางปชาบดีโคตรมี พระน้านาง) พระศาสดาได้เสด็จไปฉันภัตตาหารในพิธีและพอเสด็จกลับก็ได้ทรงส่งบาตรให้เจ้า ชายนันทะ แล้วไม่ยอมรับบาตรรคืน เจ้าชายนันทะถือบาตรตามเสด็จพระศาสดาไป ข้างฝ่ายเจ้าสาวคือเจ้าหญิงชนปทกัลยาณีเมื่อเห็นเจ้าชายนันทะตามเสด็จพระ ศาสดาไปก็ได้รีบไปร้องตะโกนขอให้เจ้าชายนันทะรีบกลับมา เมื่อเสด็จถึงวัดพระเวฬุวัน เจ้าชายสิทธัตถะก็ได้ผนวชเป็นภิกษุ


พระ ศาสดาได้เสด็จออกจากวัดพระเวฬุวันไปประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันที่อนาถบิณฑิก เศรษฐีสร้างถวาย ขณะที่พระนันทะพำนักอยู่ที่นี่ก็มีความกระวนกระวายใคร่จะลาเพศบรรพชิตออกไป เป็นคฤหัสถ์ เพราะยังจดจำคำสั่งลาของเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีที่ทรงตะโกนสั่งไห้รีบกลับมา นั้นอยู่เสมอ


พระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ ก็ได้ทรงใช้อำนาจฤทธิ์พาพระนันทะไปชมนางเทพธิดารูปร่างสะคราญในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมีความสะสวยงดงามกว่าเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีมาก พระศาสดาได้ทรงประทานคำมั่นสัญญากับพระนันทะว่าหากพระนันทะปฏิบัติธรรมอยู่ ต่อไปโดยไม่สึกพระองค์จะประทานนางเทพธิดาร่างสะคราญเหล่านั้นแก่พระเจ้าชาย นันทะ พวกภิกษุทั้งหลายพากันเย้ยหยันพระนันทะว่าเหมือนกับถูกจ้างให้ปฏิบัติธรรม เพื่อจะได้หญิงงามเป็นค่าจ้าง พระนันทะรู้สึกเดือดร้อนและละอายใจมาก จึงได้ปลีกวิเวกไปมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจังจนกระทั่งได้บรรลุ พระอรหัตตผล เมื่อได้เป็นพระอรหันต์แล้วจิตของท่านก็หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นทั้ง ปวง และพระศาสดาก็ได้หลุดพ้นจากคำสัญญาที่ได้ประทานแก่เจ้าชายนันทะ ซึ่งเรื่องนี้พระศาสดาทรงหยั่งรู้ด้วยพระญาณพิเศษตั้งแต่แรกแล้ว

ภิกษุ ทั้งหลาย ซึ่งแต่เดิมทราบมาว่าพระนันทะมิได้เข้ามาบวชเป็นพระด้วยความเต็มใจ จึงได้สอบถามความรู้สึกของท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระนันทะตอบว่าท่านไม่มีความยึดมั่นในชีวิตฆราวาสต่อไปแล้ว พวกภิกษุก็คิดว่าพระเจ้าชายนันทะพูดไม่จริง จึงได้นำเรื่องนี้ไปทูลพระศาสดา และในขณะเดียวกันก็ได้แสดงความสงสัยในคำพูดของท่าน พระศาสดาจึงได้ตรัสว่า เดิมสภาวะจิตของพระนันทะเป็นเหมือนหลังคาบ้านที่มุงไว้ไม่ดี ฝนก็ย่อมรั่วรดลงมาได้ แต่บัดนี้จิตของท่านมีลักษณะเหมือนบ้านที่มุงหลังคาไว้ดีแล้วฝนจึงรั่วรดลง มาไม่ได้


จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 13 และพระคาถาที่ 14 นี้

ยถา อคารํ ทุจฉนฺนํ

วุฏฺฐิ สมติวิชฺฌติ

เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ

ราโค สมติวิชฺฌติฯ

บ้านที่มุงไม่ดี

ฝนย่อมราวรดเข้าได้ ฉันใด

จิตที่ไม่ได้อบรม

ราคะย่อมรั่วเข้าไปครอบงำได้ ฉันนั้น


ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ

วุฏฺฐิ น สมติวิชฌติ

เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ

ราโค น สมติวิชฺฌติฯ

บ้านที่มุงดี

ฝนย่อมรั่วรดเข้าไม่ได้ ฉันใด

จิตที่อบรมดีแล้ว

ราคะย่อมรั่วเข้าไปครอบงำไม่ได้ ฉันนั้น

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ผู้คนเป็นอันมาก สำเร็จพระโสดาบันเป็นต้น พระธรรมเทศนามีประโชน์แก่มหาชน.
ข้อมูลโดย วิโรจน์ ไผ่ย้อย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น