....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

22 เม.ย. 2554

นิทานธรรมบท เรื่องธรรมิกอุบาสก

เรื่องธรรมิกอุบาสก
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภอุบาสกชื่อธรรมิกะ ได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 16 นี้

ครั้ง หนึ่งในกรุงสาวัตถีมีอุบาสกคนหนึ่งชื่อธรรมิกะ เป็นผู้ใจบุญใจกุศลชอบทำบุญให้ทาน เขาจะถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์อย่างสม่ำเสมอทุกวัน และในโอกาสสำคัญต่างๆ เขาเป็นหัวหน้าของอุบาสกอีกจำนวน 500 คนซึ่งอยู่ในนครสาวัตถีนี้ เขามีบุตร 7 คน และธิดา 7 คน และบุตรธิดาทุกคนก็เหมือนกับบิดาคือเป็นผู้มีใจบุญใจกุศลชอบถวายทาน อยู่มาวันหนึ่งธรรมิกอุบาสกเกิดป่วยหนักมีอาการใกล้จะตาย เขาได้ขอร้องบุตรธิดาให้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระสูตรศักดิ์สิทธิ์ขณะ ที่เขานอนอยู่บนเตียงขณะใกล้จะตาย ขณะที่พระภิกษุสงฆ์กำลังสวดมหาสติปัฏฐานสูตรอยู่นั้น ก็มีรถที่ประดับตกแต่งงดงามมากจำนวน 6 คันจากสวรรค์ชั้นต่างๆมาจอดรอเขาเพื่อเชิญให้เขาไปอยู่ในสวรรค์ในชั้นต่างๆ ธรรมิกอุบาสกได้บอกรถเหล่านั้นให้รอก่อนสักครู่อย่าได้เพิ่งมาเพราะจะรบกวน ขัดจังหวะการสวดพระสติปัฏฐานสูตรของพระภิกษุสงฆ์ ข้างพระภิกษุสงฆ์ที่สวดอยู่นั้นเข้าใจว่าธรรมิกอุบาสกต้องการให้พวกท่านหยุด สวดจึงได้เลิกสวดและเดินทางกลับวัด


ชั่วครู่ต่อมาธรรมิกอุบาสก ก็ได้บอกกับบวกบุตรธิดาของตนว่ามีรถทิพย์จำนวน 6 คันมาจอดรอเพื่อรับเขาอยู่ และในที่สุดเขาได้ตัดสินในเลือกรถที่ส่งมาจากสวรรค์ดุสิต และได้บอกให้ลูกคนหนึ่งโยนพวงมาลัยไปคล้องรถคันที่มาจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น พอธรรมิกอุบาสกสิ้นใจตายก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น คนที่ทำความดีย่อมจะบันเทิงในโลกนี้และในโลกนี้


ต่อมาพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 16 นี้ว่า


อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ

กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ

โส โมทติ โส ปโมทติ

ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโนฯ

คนทำบุญกุศลไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง

คือบันเทิงในโลกนี้ ล่วงลับไปแล้วก็ไปบันเทิงในโลกหน้า

เขาย่อมร่าเริง บันเทิงใจ เพราะมองเห็นกรรมบริสุทธิ์ของตนเอง.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมากบรรลุพระโสดาบันเป็นต้น พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่มหาชน.
ข้อมูลโดย วิโรจน์ ไผ่ย้อย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น