เรื่องพระเทวทัต
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภการได้ผ้ากาสาวพัสตร์จากแคว้นคันธาระของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 8 และ พระคาถาที่ 9 นี้
ครั้ง หนึ่งพระอัครสวกทั้งสอง คือ พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเดินทางจากกรุงสาวัตถึไปที่กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นประชาชนชาวกรุงราชคฤห์ได้นิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองและพระภิกษุบริวาร ของท่านจำนวนหนึ่งพันรูปไปฉันภัตตาหารเช้า ในโอกาสนี้เองมีอุบาสกคนหนึ่งถวายผ้ามีมูลค่าหนึ่งแสนกหาปณะให้แก่พวกคนที่ ดำเนินการในพิธีถวายภัตตาหารในครั้งนี้ โดยแนะนำพวกเขาว่าควรจะนำผ้านี้ขายแล้วเอาเงินที่ได้จากการขายผ้านี้ไปเป็น ค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากไม่ขาดแคนเงินก็ให้นำผ้าผืนนี้ถวายพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามแต่จะ เห็นสมควร การณ์ปรากฏว่าไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนเงินและจะต้องนำผ้าไปถวายแก่ภิกษุ รูปใดรูปหนึ่ง เนื่องจากว่าพระอัครสาวกทั้งสองไปที่กรุงราชคฤห์เป็นครั้งคราว ส่วนพระเทวทัตเป็นพระที่อยู่เมืองนี้เป็นประจำ ชาวเมืองจึงถวายผ้าผืนนี้แก่พระเทวทัต
พระเทวทัตรีบนำผ้ามี มูลค่ามากนั้นมาทำเป็นจีวรห่มในทันที เมื่อพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางจากกรุงราชคฤห์มาที่กรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระ ศาสดา และได้กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า มิใช่ครั้งแรกที่พระเทวทัตห่มจีวรที่ตนไม่สมควรจะห่ม และพระศาสดาได้นำเรื่องอดีตมาแสดงว่า
พระเทวทัตเป็นพรานล่าช้าง ในอดีตชาติหนึ่ง ครั้งนั้นมีช้างจำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งนายพรานนั้นสังเกตเห็นพวกช้างคุกเข่าทำความเคารพพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งหลายที่พวกตนพบเห็น เมื่อสังเกตเห็นเช่นนี้แล้วนายพรานล่าช้างนั้นก็ได้ไปขโมยจีวรสีเหลืองของ พระปัจเจกพุทธเจ้ามาคลุมกายของตนเอง จากนั้นก็ได้ถือหอกไปคอยพวกช้างอยู่ในเส้นทางสัญจรปกติของพวกช้าง เมื่อพวกช้างมาถึงเห็นนายพรานเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็คุก เข่าลงทำความเคารพเช่นเคย นายพรานช้างก็ได้ถือโอกาสใช้หอกซัดฆ่าช้างตัวที่อยู่ท้ายสุด และได้กระทำเช่นนี้เรื่อยมาเป็นเวลาหลายวัน
พระโพธิสัตว์เป็น พระยาช้างโขลงนั้น สังเกตเห็นว่าช้างบริวารลดจำนวนลงจึงได้ตัดสินใจหาสาเหตุโดยให้ช้างบริวาร เดินนำหน้าส่วนพระยาช้างเองเดินตามหลัง พระโพธิสัตว์คอยระวังอยู่ตลอดเวลา เมื่อนายพรานพุ่งหอกมาก็สามารถหลบหลีกได้ทัน แล้ววิ่งไปใช้งวงรวบนายพรานช้างกำลังจะฟาดตัวลงที่พื้นดิน แต่เผอิญมองเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่นายพรานช้างนำมาใช้คลุมกายไว้ จึงยับยั้งใจไว้ชีวิตแก่นายพรานช้าง
นายพรานถูกตำหนิที่พยายาม ฆ่าผู้อื่นโดยใช้ผ้ากาสาวพัสตร์มาคลุมกาย และกระทำในสิ่งชั่วช้าเช่นนี้ นายพรานไม่ควรที่จะนำผ้ากาสาวพัสตร์ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของผู้หมดกิเลสมา นุ่งห่ม
จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 9 และที่ 10 ว่า
อนิกฺกสาโว กาสาวํ
โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมหรติฯ
คนกิเลสหนา ปราศจากการบังคับตัวเอง
ไร้สัจจะ ไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
โย จ วนฺตกสาววสฺส
สีเลน สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมหรติฯ
คนหมดกิเลส มั่นคงในศีล
มีสัจจะ ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
เมื่อ พระธรรมเทศนาจบลง ภิกษุที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลเรื่องนี้ ได้บรรลุพระโสดาบัน ส่วนภิกษุอื่นอีกเป็นจำนวนมากได้บรรลุพระโสดาปัตติผลเป็นต้น พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชน.
ข้อมูลโดย วิโรจน์ ไผ่ย้อย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น