เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระติสสเถระ ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 3 และพระคาถาที่ 4 นี้
พระ ติสสเถระ เป็นบุตรพระญาติข้างพระมารดาของพระศาสดา ครั้งหนึ่งได้มาอยู่กับพระศาสดา ติสสเถระอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อตอนชราภาพแล้ว แต่ได้ทำตัวเหมือนกับว่าเป็นพระเถระและจะแสดงความดีใจเมื่อพระอาคันตุกะขอ อนุญาตทำกิจวัตรที่พระผู้น้อยสมควรทำแก่พระผู้ใหญ่กับท่าน ตรงกันข้ามท่านติสสเถระไม่ยอมทำกิจวัตรที่ตนในฐานะที่เป็นพระพรรษาน้อยจะ ต้องทำแก่พระผู้ใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้นท่านก็ยังทะเลาเบาะแว้งกับพระภิกษุหนุ่มอยู่เป็นประจำ หากมีใครว่ากล่าวตักเตือนในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนนี้ ท่านก็จะนำเรื่องไปฟ้องกับพระศาสดา แล้วแสร้งบีบน้ำตาห้องไห้แสดงความไม่พอใจและความผิดหวังออกมา พวกพระอื่นๆก็ได้ติดตามพระติสสเถระไปเฝ้าพระศาสดา พระศาสดาได้ตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายไม่ให้สร้างความรู้สึกผูกใจเจ็บ เพราะเวรนี้ไม่สามารถระงับได้ด้วยการจองเวร
จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 3 และพระคาถาที่ 4 นี้
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ อุปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสํ น สัมมติ.
ชนเหล่าใด ผูกใจเจ็บว่า
มันด่าเรา มันทุบตีเรา
มันชนะเรา
มันขโมยของเรา
เวรของพวกเขา ไม่มีวันระงับได้.
อกฺโกจฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสูปสมฺมติฯ
ชนเหล่าใด ไม่ผูกใจเจ็บว่า
มันด่าเรา มันทุบตีเรา
มันชนะเรา
มันขโมยของเรา
เวรของพวกเขา ย่อมมีวันระงับได้.
เมื่อ จบพระธรรมเทศนา ภิกษุหนึ่งแสนรูปได้บรรลุพระโสดาปัตติผลเป็นต้น พระธรรมเทศนามีผลมากแก่มหาชน พระติสสเถระที่หัวดื้อก็กลายเป็นคนว่าง่าย.
ข้อมูลโดย วิโรจน์ ไผ่ย้อย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น