....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

22 เม.ย. 2554

นิทานธรรมบท เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่วัดพระเขตวัน ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 6 นี้

พวก ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเกิดผิดใจกันแตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งปฏิบัติตามคำสั่งสอนของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางวินัยของพวกตน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็ปฏิบัติอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านธรรมะของพวกตน และได้มีปากมีเสียงทะเลาะกันอยู่เสมอๆ แม้ว่าพระศาสดาจะห้ามปรามมิให้ทะเลาะกันอย่างไรก็ไม่ยอมหยุด จนพระศาสดาเอือมระอาเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ที่รักขิตวันป่าปาลิเลยยกะ โดยมีช้างปาลิเลยยะคอยอุปัฏฐาก


ชาวเมืองโกสัมพีเมื่อทราบสาเหตุ ที่ทำให้พระศาสดาต้องเสด็จไปเช่นนั้นก็พากันไม่ใส่บาตรถวายทานแก่พวกภิกษุ ที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด ข้อนี้ทำให้พวกภิกษุทั้งหลายตระหนักถึงความผิดของพวกตนและเริ่มเกิดความ สามัคคีปรองดองระหว่างกัน แต่พวกชาวบ้านก็ยังไม่ยอมปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นด้วยความเคารพเหมือนเดิม จะต้องให้ไปขอขมาโทษพระศาสดาเสียก่อน แต่ว่าช่วงนั้นพระศาสดาเป็นช่วงกลางพรรษาพวกภิกษุจึงไปขอขมาโทษมิได้ ดังนั้นพวกภิกษุจึงอยู่จำพรรษานั้นด้วยความทุกข์ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง


เมื่อ ออกพรรษาพระอานนท์และภิกษุ 500 รูปได้ไปเฝ้าพระศาสดาและได้กราบทูลบอกคำอัญเชิญของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีและ อุบาสกอุบาสิกาอื่นๆที่ขอให้พระองค์เสด็จกลับ ต่อมาพระศาสดาก็ได้เสด็จกลับวัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี พวกภิกษุทั้งหลายได้พร้อมกันไปหมอบลงที่เบื้องพระบาทและขอขมาโทษต่อพระศาสดา พระศาสดาได้ทรงตำหนิภิกษุเหล่านั้นที่ไม่เชื่อฟังพระโอวาทของพระองค์ ได้ตรัสบอกให้พวกภิกษุเหล่านั้นให้จดจำใส่ใจไว้ว่าพวกตนจะต้องตายในวันหนึ่ง และเพราะฉะนั้นก็จะต้องหยุดทะเลาะวิวาทกันและจะต้องไม่ทำเหมือนกับว่าพวกตน จะไม่ตาย


จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 6 นี้ว่า

.
ปเร จ น วิชานฺติ

มยเมตฺถ ยมามเส

เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ

ตโต สมฺมนฺติ เมธคาฯ

คนเหล่าอื่นมักไม่รู้ว่าพวกเรากำลังฉิบหาย

เพราะการวิวาทกัน

ส่วนผู้ที่รู้ในข้อนี้

จะไม่ทะเลาะวิวาทกัน.


เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระภิกษุที่มาประชุมกันทั้งหมดได้บรรลุพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.

ข้อมูลโดย วิโรจน์ ไผ่ย้อย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น