....ขอเชิญร่วม.....ปิดทองรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส..... วัดหน้าพระบรมธาตุ ....... ...มีวัตถุมงคล...รุ่นพิเศษ.............................อนุญาตุให้บทความทั้งหมดเป็นสาธารณะ.......

22 เม.ย. 2554

นิทานธรรมบท เรื่องสุมนาเทวี

เรื่องสุมนาเทวี
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวันกรุงสาวัตถี ทรงปรารภนางสุมนาเทวี (ธิดาคนเล็กของอนาถบิณฑิกเศรษฐี)
ได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 18 นี้

ใน กรุงสาวัตถี ที่บ้านของท่านอนาถบิณฑบิณฑิกเศรษฐีและที่บ้านของนางวิสาขาจะมีพระสงฆ์ได้ รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารวันละ 2000 รูปมิได้ขาด ที่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี คนที่ทำหน้าที่ควบคุมงานถวายภัตตาหารพระสงฆ์คนแรกได้แก่ธิดาคนโตของท่าน เศรษษฐี ต่อมาเมื่อธิดาคนโตออกเรือนแล้วก็ให้ธิดาคนรองรับผิดชอบ พอธิดาคนรองออกเรือนก็ให้ธิดาคนสุดท้องคือนางสุมนาเทวีรับผิดชอบ พี่สาวทั้งสองคนของนางสุมนาได้ฟังพระธรรมเทศนาจนได้บรรลุพระโสดาบันขณะที่ทำ หน้าที่ถวายอาหารแก่ภิกษุสงฆ์ ส่วนนางสุมนาเทวีก้าวหน้าไปกว่าพี่สาวคือสามารถบรรลุพระสกทาคามี

ต่อ มานางสุมนาเทวีเกิดป่วยหนัก เมื่อใกล้จะสิ้นใจได้ขอให้คนไปเชิญบิดามาหา เมื่อท่านเศรษฐีมาแล้วนางสุมนาเทวีได้เรียกบิดาว่า “น้องชาย” จากนั้นไม่นานก็ได้สิ้นใจตาย ข้างเศรษฐีเกิดความสงสัยและเกิดความไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่งที่ถูกธิดาเรียก ว่า “น้องชาย” เพราะเข้าใจว่าธิดาในเวลาจะสิ้นใจตายไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะถึงกับเพ้อ ออกมาเช่นนี้ ดังนั้นเศรษฐีจึงไปเฝ้าพระศาสดาแล้วนำเรื่องนี้ไปทูลถาม พระศาสดาได้ตรัสกับเศรษฐีว่านางสุมนาเทวีมิได้ขาดสติสัมปชัญญะก่อนที่จะขาด ใจตายแต่อย่างใด นางยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ พระศาสดาทรงอธิบายว่าที่นางสุมนาเทวีเรียกบิดาของนางว่า “น้องชาย”นั้น ก็เพราะนางได้บรรลุมรรคผลสูงกว่าบิดา คือขณะที่บิดาของนางบรรลุพระโสดบันนางเองบรรลุพระสกทาคามี และพระศาสดายังได้ตรัสบอกเศรษฐีด้วยว่านางสุมนาเทวีได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดุสิตแล้ว


จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 18 ว่า

อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ

กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ

ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนฺทติ

ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโตฯ


คนที่ทำดีไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง

คือบันเทิงในโลกนี้ และบันเทิงในโลกหน้า

เขาย่อมบันเทิงว่าเราได้ทำบุญไว้แล้ว

เมื่อไปสู่สุคติภพ ยิ่งบันเทิงมากขึ้น.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมากบรรลุพระโสดาบันเป็นต้น พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่มหาชน.
ข้อมูลโดย วิโรจน์ ไผ่ย้อย สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น